Suriyanon Pholsim | Khon Kaen University (original) (raw)

Uploads

Papers by Suriyanon Pholsim

Research paper thumbnail of แนวทางขจัดอุปสรรคและยกระดับความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาจังหวัดบึงกาฬแบบบูรณาการ

วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, 2024

การประสานความร่วมมือได้กลายมาเป็นองค์ประกอบสำคัญของการบริหารกิจการสาธารณะในยุคปัจจุบัน นำมาสู่ควา... more การประสานความร่วมมือได้กลายมาเป็นองค์ประกอบสำคัญของการบริหารกิจการสาธารณะในยุคปัจจุบัน นำมาสู่ความสนใจของการงานศึกษาวิจัยชิ้นนี้ซึ่งมุ่งวิเคราะห์ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐกับภาคส่วนอื่น ๆ ในจังหวัดบึงกาฬและวิเคราะห์แนวทางยกระดับความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาจังหวัดแบบบูรณาการของสำนักงานจังหวัดบึงกาฬโดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมระหว่างเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 78 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้บริหารภาครัฐและผู้บริหารภาคเอกชน 38 คน และกลุ่มที่สองคือกลุ่มประชาชนใน 8 อำเภอ ครอบคลุมทั้งจังหวัดบึงกาฬรวม 40 คน โดยนักวิจัยใช้ Microsoft Excel ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและใช้ Atlas.ti ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ
ผลการศึกษาพบว่าระดับของการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐ เอกชน และประชาชนในบึงกาฬอยู่ในระดับปานกลาง โดยความร่วมมือระหว่างหน่วยงานราชการด้วยกันเองมีความเป็นหนึ่งเดียวกันสูง แต่ความร่วมมือระหว่างประชาชนกับราชการอยู่ในระดับปานกลาง และความร่วมมือระหว่างเอกชนกับราชการอยู่ในระดับที่ต่ำ อีกทั้ง งานศึกษาชิ้นนี้ยังพบปัจจัยที่เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการทำงานร่วมกันในจังหวัดบึงกาฬประกอบด้วย 9 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ขาดการส่งเสริมจากภาครัฐ ประชาชนในจังหวัดยังตื่นตัวน้อย ความเห็นต่างทางการเมือง ขาดตัวกลางในการเชื่อมโยงความร่วมมือ ความตระหนักรู้ของประชาชน สถานภาพทางเศรษฐกิจของประชาชน แรงงานไปทำงานต่างถิ่น การสื่อสารที่ไม่มีประสิทธิภาพ และปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงโยกย้ายตำแหน่งงานของข้าราชการ ตลอดจน งานวิจัยนี้ยังได้วิเคราะห์แนวทางเพื่อยกระดับความร่วมมือในบึงกาฬ โดยแบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการพัฒนากลไกกลางเพื่อประสานความร่วมมือโดยเฉพาะ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมอย่างครอบคลุม การส่งเสริมให้ภาคเอกชนและประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการทำงานร่วมกัน และนโยบายที่เน้นการสร้างอาชีพและรายได้ให้กับประชาชน

Research paper thumbnail of ภาคีภิบาล: แนวคิดพื้นฐานและแนวทางการศึกษาวิจัยในอนาคต (Collaborative Governance: Theoretical Foundation and Future Research Agenda)

วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2023

บทความนี้มุ่งอธิบายรากฐานแนวคิด การถอดความหมายเชิงทฤษฎีของภาคีภิบาล รวมถึงนำเสนอแนวทางในการศึกษาภ... more บทความนี้มุ่งอธิบายรากฐานแนวคิด การถอดความหมายเชิงทฤษฎีของภาคีภิบาล รวมถึงนำเสนอแนวทางในการศึกษาภาคีภิบาลที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานวิจัยด้านความร่วมมือในบริบทต่าง ๆ โดยส่วนแรกของบทความมุ่งนำเสนอรากฐานแนวคิดและการถอดความหมาย “ภาคีภิบาล” ในเชิงทฤษฎี ตลอดจนข้อถกเถียงว่าด้วยความต่างทางนิยามศัพท์และได้นำเสนอระเบียบวิธีในการศึกษาภาคีภิบาล 3 แนวทางหลัก คือ การศึกษาความร่วมมือระหว่างภาคส่วน การศึกษาความร่วมมือระหว่างองค์กร และการศึกษาระบอบการจัดการของความร่วมมือหนึ่ง ๆ บทความนี้ยังได้วิเคราะห์ประเด็นที่ควรได้รับการศึกษาวิจัยต่อยอดในอนาคตซึ่งจะช่วยขยายพรมแดน องค์ความรู้และทฤษฎีของภาคีภิบาลให้สมบูรณ์มากขึ้น ได้แก่ ประเด็นความหลากหลายทางวัฒนธรรมขององค์กร โครงสร้างของสมาชิก และการวิเคราะห์ตัวแบบหรือระบอบภาคีภิบาลระดับเมือง

Research paper thumbnail of โซ่พิสัยโมเดล ตัวแบบการพัฒนาท้องถิ่นแนวใหม่ด้วยกลไกพิพิธภัณฑ์ชุมชน (The So Phisai Model: A New Approach to Local Development Based on Community Museum Mechanism)

บทความนี้มุ่งนำเสนอแนวคิดพิพิธภัณฑ์วิทยากับบทบาทในฐานะศูนย์กลางขับเคลื่อนการพัฒนาในระดับท้องถิ่น ... more บทความนี้มุ่งนำเสนอแนวคิดพิพิธภัณฑ์วิทยากับบทบาทในฐานะศูนย์กลางขับเคลื่อนการพัฒนาในระดับท้องถิ่น โดยศึกษาวิเคราะห์บทเรียนการดำเนินงานของพิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิต จังหวัดบึงกาฬ และเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ชุมชนรวม 8 แห่ง ในอำเภอโซ่พิสัยจนเกิดเป็น “โซ่พิสัยโมเดล” ที่เน้นย้ำความสำคัญของพิพิธภัณฑ์ในการริเริ่ม ขับเคลื่อน และเชื่อมโยงกิจกรรมการพัฒนาตั้งแต่ระดับชุมชน ตำบล และอำเภอ ตลอดจนยังนำเสนอแนวทางในการยกระดับต้นทุนของชุมชนแบบใหม่ที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและกระจายรายได้ให้กับคนในท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ บทความนี้ยืนยันว่ากลไกพิพิธภัณฑ์ชุมชนมีศักยภาพสูงที่สามารถเป็นทั้งกลไกหลักและกลไกทางเลือกใหม่สำหรับการพัฒนาท้องถิ่นในประเทศไทยที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถนำไปปรับใช้เพื่อยกระดับการพัฒนาในพื้นที่ได้อย่างรอบด้าน อีกทั้ง ยังพบว่าพิพิธภัณฑ์เป็นภาคส่วนที่ขาดหายไปในงานศึกษาทฤษฎีภาคีภิบาลของไทยด้วย ดังนั้น หากมีการขยายผลหรือยกระดับบทบาทของพิพิธภัณฑ์ชุมชนในพื้นที่ต่าง ๆ และมีการศึกษาวิจัยกลไกการดำเนินงานของพิพิธภัณฑ์ชุมชนเหล่านี้ในระบบความร่วมมือหนึ่ง ๆ มากยิ่งขึ้นก็จะช่วยขยายพรมแดนองค์ความรู้ของทฤษฎีภาคีภิบาลในระบบการพัฒนาท้องถิ่นได้มากขึ้น

Research paper thumbnail of Roles of policy brokers in collaborative governance: Evidence from Khon Kaen and Bueng Kan cities in Thailand

Asian Politics & Policy, 2022

This article examines the roles of policy brokers in different settings of collaboration in Khon ... more This article examines the roles of policy brokers in different settings of collaboration in Khon Kaen and Bueng Kan Cities in Thailand. It integrates the advocacy coalition and multiple stream frameworks to view how a policy broker in different collaborative settings would manage their preferred urban transport

Research paper thumbnail of การพัฒนาเมืองอัจฉริยะขอนแก่น (Khon Kaen Smart City Development)

คลังนานาวิทยา, 2021

“เมือง” ได้ถูกนำมาใช้เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็น... more “เมือง” ได้ถูกนำมาใช้เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ รวมถึงเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจและสังคมให้กับประเทศด้วย เช่นเดียวกับแนวคิด “เมืองอัจฉริยะ (smart city)” ที่รัฐบาลในหลายประเทศทั่วโลกตระหนักต่ออิทธิพลและความสำคัญของการพัฒนาเมืองอย่างบูรณาการระหว่างคน เมือง และเทคโนโลยี ให้มีความอัจฉริยะและสมดุลใน 7 ด้าน อันประกอบด้วยด้านเศรษฐกิจ (economy) สิ่งแวดล้อม (environment) การศึกษา (education) การดำรงชีพ (living) การจัดการภาครัฐ (governance) การจัดการพลังงาน (energy) และการคมนาคมขนส่ง (mobility) การพัฒนาเมืองในด้านต่าง ๆ เหล่านี้ให้มีความอัจฉริยะอย่างสมบูรณ์แบบจนกลายเป็น “เมืองอัจฉริยะ” จะนำไปสู่
การพัฒนาเมืองให้ทันยุค ทันสมัยและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีของโลกได้เป็นอย่างดี
หนังสือ “การพัฒนาเมืองอัจฉริยะขอนแก่น” เล่มนี้ เป็นผลการศึกษาส่วนหนึ่งที่ได้จากโครงการวิจัย “การวางแผนกลยุทธ์ในการนำนโยบายการพัฒนาตามแนวทางเมืองอัจฉริยะไปสู่การปฏิบัติ: การถอดบทเรียน การประเมินการตรวจสอบความตรง และการพัฒนาข้อเสนอแนะ” นี้ คณะผู้วิจัย ซึ่งนำโดยรองศาสตราจารย์ ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ และคณะ ได้มุ่งมั่นจัดทำงานวิจัยชิ้นนี้ขึ้นมาภายใต้ความคาดหวังเพื่อถอดบทเรียนและสังเคราะห์แนวทางการพัฒนาเมืองอัจฉริยะให้สอดรับบริบทของประเทศไทย เพื่อให้ “เมืองอัจฉริยะ” ได้กลายเป็นอีกหนึ่งฟันเฟืองหรือเครื่องมือชิ้นใหม่ในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมด้านต่าง ๆ ให้กับประเทศ ซึ่งโครงการวิจัยดังกล่าวนี้ ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ประจำปีงบประมาณ 2562

Research paper thumbnail of การจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองในระดับโรงเรียนของญี่ปุ่น ​(Civic Education in Japanese School)

วารสารมนุษย์กับสังคม, 2020

บทความนี้มีเป้าหมายเพื่อศึกษานโยบาย แบบแผนการจัดการศึกษา ตลอดจนวิเคราะห์บริบทที่เอื้อต่อการเสริมส... more บทความนี้มีเป้าหมายเพื่อศึกษานโยบาย แบบแผนการจัดการศึกษา ตลอดจนวิเคราะห์บริบทที่เอื้อต่อการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองในโรงเรียนของญี่ปุ่น โดยใช้การวิจัยเอกสารและทบทวนวรรณกรรมเป็นวิธีหลักในการศึกษาวิจัย ผลการศึกษาพบว่า ญี่ปุ่นมีเป้าหมายการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้ได้รับความรู้ที่จำเป็นสำหรับนำไปใช้ “สร้างสังคมและชาติที่เป็นประชาธิปไตยอย่างสงบสุข” มีนโยบายการศึกษาตามหลัก “Zest for Life” ที่มุ่งพัฒนาพลเมืองในสามด้านหลัก คือ ความรู้ทางวิชาการ ความมีมนุษยธรรม และความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกาย นอกจากนี้ การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาพลเมืองในโรงเรียนสามารถจำแนกได้เป็น 2 แบบแผน ได้แก่ การจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองอย่างเข้มข้นและบูรณาการในการศึกษาภาคบังคับ และการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาพลเมืองแบบปัจเจกในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สำาหรับบริบทที่เอื้อต่อการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองประกอบด้วย บริบทบาทภายในและภายนอกโรงเรียน ได้แก่ 1) การพัฒนาองค์ความรู้และความเข้าใจของผู้เรียนตามหลักสูตร 2) การจัดการเรียนการสอนพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองอันพึงประสงค์ในโรงเรียน 3) มิติด้านการพัฒนาทักษะเพื่อสร้างเสริมความเข้าใจด้านความเป็นพลเมืองแบบบูรณาการ 4) การศึกษาทางสังคมนอกโรงเรียนโดยใช้ชุมชนและสังคมเป็นฐานในการพัฒนานักเรียน และ 5) กระบวนการผลิตซ้ำค่านิยมแบบคติร่วมในสังคมญี่ปุ่น

Research paper thumbnail of การยกระดับความโปร่งใสในภาครัฐ : กรณีศึกษาจากประเทศญี่ปุ่น (How Should Transparency Be Arranged? A Japanese Case)

Journal of Local Administration, 2018

Japan has been ranked as the twentieth most transparent government in the world and the third cle... more Japan has been ranked as the twentieth most transparent government in the world and the third cleanest country in Asia. However, there is no specific anti-corruption agency and transparency assessment to curb corruption in the Japanese governance. How does Japan deal with corruption and its transparency? This paper delves into an explanation to this question. The main purposes are to (1) examine corrupt practices in the public sector of Japan, and (2) scrutinize the Japanese ways to deal with corruption and transparency enhancement in the Japanese public sector. The author uses documentary research as the main methodology for this study. Results show that Japan has a relatively low proportion of corruption in both national and local governments. The Japanese ways to cope with corruption and transparency in public sector could be classified into two means. First, an internal preventative mechanism consists of five elements which are; ringi-sei system, official payment, proper remuneration, oobeya-shugi system, and frequency of official rotation. Second, an external corruption control apparatus consists of three components which are: participatory countermeasure of local residents by Citizens' Ombudsman Network, survey on the causes of corruption in local government, and capacity and independence of investigation authorities.

Research paper thumbnail of การศึกษาเปรียบเทียบองค์กรที่ปฏิบัติงานด้านการต่อต้านคอร์รัปชั่นในสิงคโปร์ ฮ่องกง และ เกาหลีใต้ : ข้อเสนอแนะต่อประเทศไทย (A Comparative Study on Anti-Corruption Agencies in Singapore, Hong Kong, and the Republic of Korea: Recommendations for Thailand)

วารสารการเมืองการปกครอง, 2019

This article focuses on 1.) roles, structures, and working procedures of Anti-Corruption Agencies... more This article focuses on 1.) roles, structures, and working procedures of Anti-Corruption Agencies (ACA) in Singapore, Hong Kong, and the Republic of Korea; 2.) recommendations to improve the ACAs' performances of Thailand. Author uses the documentary research as the main methodology for this study. The results show that prominent strategy of Hong Kong's ACA is the " three-pronged strategy " , which goes along with the simplicity of its organization's structure designation, effective media utilization, and local participation to fight against corruption. Singapore's ACA is a centralized, small, and flexible organization with strong and powerful law enforcement. There is also a highly effective anti-corruption mechanism in Singapore which is; strong political wills to deal with corruption, tough law enforcement, public sector efficiency, and independence of ACA. In the Republic of Korea, the ACA is merged from related three anti-corruption organizations, and the structure of national ACA's committee is effective to curb with corruptions in both political and public sectors. There is also a striking dual-corruption assessment system which is effective to interfere the corruption in public sector. However, the creation of local anti-corruption commission (LACC); related public agencies on anti-corruption affairs should be merged, and enhancing the proactive corruption prevention mechanisms, should be useful and effective ways to improve the ACA's performances in Thailand.

Research paper thumbnail of Book Review บทวิจารณ์หนังสือ พัฒนาการการบริหารภาครัฐของไทย.pdf

“...วิวัฒนาการของการบริหารหารจัดการภาครัฐของประเทศไทยพัฒนาไปอย่างไร... ประเทศไทยยังเป็นรัฐที่มีรู... more “...วิวัฒนาการของการบริหารหารจัดการภาครัฐของประเทศไทยพัฒนาไปอย่างไร... ประเทศไทยยังเป็นรัฐที่มีรูปแบบการบริหารจัดการแบบล้าสมัยหรือก้าวขึ้นมาสู่ประเทศที่มีรูปแบบการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่... แล้วอะไรคือตัวสะท้อนระดับการพัฒนาการบริหารภาครัฐของไทย... ตลอดจนการปฏิรูปภาครัฐของไทยตามแนวคิดสมัยใหม่ประสบความสำเร็จจริงหรือไม่ แล้วท้ายที่สุด ทิศทางและอนาคตของการบริหารจัดการภาครัฐของประเทศไทย "ควร" จะดำเนินไปในอย่างไร...? ”

Research paper thumbnail of BOOK REVIEW: Local Government Reform  under the New Public Affairs Management (การปฏิรูปการปกครองท้องถิ่นตามกระบวนทัศน์การบริหารกิจการภาครัฐแนวใหม่)

หากห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์คือแหล่งกำเนิดของแนวคิดและทฤษฏีสำคัญสำหรับสาชาวิชาชีววิทยา เคมี และวิทย... more หากห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์คือแหล่งกำเนิดของแนวคิดและทฤษฏีสำคัญสำหรับสาชาวิชาชีววิทยา เคมี และวิทยาศาสตร์ “การปกครองท้องถิ่น” ก็คือห้องทดลองของสาขาสังคมศาสตร์ที่ช่วยให้เราเข้าใจพลวัติของการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยได้เป็นอย่างดี (Nalbandian, 2006; วุฒิสาร ตันไชย, 2550) ซึ่งการปกครองส่วนท้องถิ่นถือเป็นหน่วยงานหลักที่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด และมีความสามารถในการบริหารจัดการและให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนในท้องถิ่นของตนเองได้เป็นอย่างดี โดยการปกครองท้องถิ่นเป็นรูปแบบของการบริหารภาครัฐที่อาศัยการมีส่วนร่วมจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในท้องถิ่นเป็นหลัก ดังนั้น หากเราสามารถสร้างเสริมรากฐานทางการปกครองให้มีความเข้มแข็งตั้งแต่ระดับท้องถิ่นก็ย่อมส่งผลให้การเมืองและการปกครองระดับชาติมีความเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นตามไปด้วย หนังสือ “การปฏิรูปการปกครองท้องถิ่นตามกระบวนทัศน์แห่งการบริหารกิจการสาธารณะแนวใหม่ (Local Government Reform under the New Public Affairs Management)” เล่มนี้ อาจเรียกได้ว่าเป็นสูตรยาแผนปัจจุบันที่จะเป็นตัวช่วยกระตุ้น รักษา และแก้ไขปัญหาด้านต่างๆใน “ภาวะความไม่สมบูรณ์ทางการจัดการปกครองท้องถิ่น” เนื่องจากเป็นหนังสือที่มีความสมบูรณ์และทันสมัย อันเป็นผลงานที่ได้จากการศึกษาวิจัยของผู้ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านการปกครองท้องถิ่น การบริการกิจการสาธารณะ และการบริหารจัดการภาครัฐเป็นอย่างดี โดยหนังสือเล่มนี้จะทำให้ผู้ศึกษาได้เข้าใจถึงสถานภาพและแนวคิดสำคัญในการปฏิรูปการปกครองท้องถิ่นอย่างแจ่มชัด โดยผู้เขียนได้นำเสนอผลการศึกษาด้วยการกลั่นแนวคิดสำคัญอันมีประโยชน์ยิ่งเพื่ออธิบายให้ผู้อ่านได้เข้าใจถึงสถานภาพการปกครองท้องถิ่นในมิติต่างๆอย่างครอบคลุมทั้ง “ที่มา ที่เป็น และที่ไป ของการปกครองส่วนท้องถิ่นไทย” ได้อย่างละเอียด ลึกซึ้ง และเข้าใจง่าย

Conference Presentations by Suriyanon Pholsim

Research paper thumbnail of PEACE STUDY FOR LOCAL DEVELOPMENT AND ADMINISTRATION: THAI LOCAL CONTEXT WITH HANDLING PROBLEMS OF SOCIAL CONFLICTS IN THE FUTURE

This article focuses on the potentiality of local government to resolve the conflicts in Thailand... more This article focuses on the potentiality of local government to resolve the conflicts in Thailand. And also presents the conflict resolutions in Indonesia which is gives the priority to devolutions and competencies of local governments. The author uses many sources such as books, documentaries, articles, journals and related publications. The result is found that the current solutions of Thailand that use the Central Government is not only appropriate and the local government has high potential to solve conflictions. But a major obstacle is the "limitations " , current local government's status is " Hemiparesis " in administration. In Indonesia has peaceful level is higher than Thailand. As well as violence level is lower than Thailand. Furthermore, there are the approaches that give priority to the rights and people's needs with devolutions to the provinces which have been conflicting for many decades such as Papua and Aceh. คํ าสํ าคั ญ : ศั กยภาพของท้ องถิ ? นไทย, การแก้ ไขปั ญหาความขั ดแย้ ง, ประเทศอิ นโดนิ เซี ย Keywords: The potential of Thai local government, Conflict resolutions, Indonesia 1 สุ ริ ยานนท์ พลสิ ม. (0112). " สั นติ ศึ กษาเพื < อการบริ หารและพั ฒนาท้ องถิ < น ". การประชุ มวิ ชาการ ระดั บชาติ ด้ านการบริ หารกิ จการ สาธารณะ ครั N งที < 0.

Teaching Documents by Suriyanon Pholsim

Research paper thumbnail of เอกสารประกอบการบรรยายหัวข้อนโยบายสาธารณะ

เอกสารประกอบการบรรยายหัวข้อนโยบายสาธารณะ วิชานโยบายสาธารณะ สำหรับนักศึกษาปริญญาตรีหลักสูตรรัฐประศ... more เอกสารประกอบการบรรยายหัวข้อนโยบายสาธารณะ วิชานโยบายสาธารณะ สำหรับนักศึกษาปริญญาตรีหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรร์ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2562

Research paper thumbnail of นิยาม องค์ประกอบ ดัชนีชี้วัด และผลลัพธ์แห่งการเป็นเมืองอัจฉริยะ (Understanding Smart City)

Books by Suriyanon Pholsim

Research paper thumbnail of แนวคิดและทฤษฎีการศึกษานโยบายทางสังคม (Concepts and Theories for Social Policy Studies)

Khon Kaen University Press, 2020

“แนวคิดและทฤษฎีการศึกษานโยบายทางสังคม (Concepts and Theories for Social Policy Studies)” เล่มนี้ ... more “แนวคิดและทฤษฎีการศึกษานโยบายทางสังคม (Concepts and Theories for Social Policy Studies)” เล่มนี้ ผู้เขียนได้เรียบเรียงเนื้อหาที่จะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาทำความเข้าใจวิชานโยบายทางสังคมสำหรับนักศึกษาในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาขารัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ สังคมสงเคราะห์ และการบริหารการพัฒนา ซึ่งหนังสือเล่มนี้ ประกอบด้วยเนื้อหาทั้งหมด 5 บท ในบทที่ 1 เป็นแนวคิดพื้นฐานที่นักศึกษาจำเป็นต้องเรียนรู้เกี่ยวกับการศึกษานโยบายทางสังคมในมิติต่าง ๆ ส่วน บทที่ 2 เป็นเรื่องของแนวคิดหลักที่นำไปใช้ในการศึกษา อธิบาย หรือวิเคราะห์นโยบายทางสังคมด้านต่าง ๆ สำหรับบทที่ 3 เป็นเรื่องของกลไกเชิงสถาบันในระบบการจัดสวัสดิการทางสังคม บทที่ 4 เกี่ยวข้องกับสวัสดิการของรัฐด้านต่าง ๆ รวมถึงการจัดทำนโยบายสาธารณะ สินค้าสาธารณะ บริการสาธารณะ และการประเมินนโยบายทางสังคมของรัฐด้วย และบทที่ 5 เกี่ยวข้องกับกรอบแนวคิดในการศึกษาและวิเคราะห์รัฐสวัสดิการ รวมถึงลักษณะสำคัญของตัวแบบรัฐสวัสดิการประเภทต่าง ๆ ด้วย สนใจติดต่อสั่งซื้อได้ที่ศูนย์หนังสือ ม.เกษตรศาสตร์ และศูนย์หนังสือจุฬา ฯ (CU Book Store) ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ สั่งซื้อผ่านเว็บไซต์ www.chulabook.com

Research paper thumbnail of ขอนแก่นโมเดล (Khon Kaen Model)

Research paper thumbnail of ทฤษฏีรัฐประศาสนศาสตร์กับการจัดการปกครองส่วนท้องถิ่น พิมพ์ครั้งที่ 2 แก้ไขเพิ่มเติม

Khon Kaen University Press, 2022

หนังสือ “ทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์และการจัดการปกครองส่วนท้องถิ่น” พิมพ์ครั้งที่ 2 แก้ไขเพิ่มเติม เล่ม... more หนังสือ “ทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์และการจัดการปกครองส่วนท้องถิ่น” พิมพ์ครั้งที่ 2 แก้ไขเพิ่มเติม เล่มนี้ แบ่งเนื้อหาออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกเป็น “ภาคแนวคิดทฤษฎี” ที่จะช่วยสร้างความเข้าใจให้กับผู้อ่านได้เห็นถึงจุดเน้นและพลวัตการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์นับตั้งแต่ยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่งจนถึงยุคสมัยใหม่ สำหรับส่วนที่สอง นักศึกษาจะได้เรียนรู้ทฤษฎีสำคัญของการจัดการปกครองท้องถิ่นมิติต่าง ๆ จากนั้น ในส่วนท้าย หนังสือเล่มนี้จะนำพาให้นักศึกษา ได้นำเอาองค์ความรู้ทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์และการจัดการปกครองท้องถิ่นที่ได้ศึกษามาตั้งแต่ต้น ไปวิเคราะห์ข้อเท็จจริงเชิงการจัดการท้องถิ่นในประเทศไทยว่า ประเด็นปัญหาเชิงปฏิบัติที่เกิดขึ้นจริงเหล่านี้ สามารถนำเอาทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์และหลักการปกครองส่วนท้องถิ่นใดไปอธิบาย วิเคราะห์ หรือทำความเข้าใจได้ อย่างไรบ้าง อันเป็นเสมือนหนังสือเพื่อช่วยให้นักศึกษาได้เข้าใจ “#บทเรียนเชิงทฤษฎีในกรณีปฏิบัติ” อย่างแจ่มแจ้ง ติดต่อสั่งซื้อได้ที่ศูนย์หนังสือ ม.เกษตรศาสตร์ และศูนย์หนังสือจุฬา ฯ ทุกสาขา หรือ สั่งซื้อผ่านเว็บไซต์ www.chulabook.com

Research paper thumbnail of แนวทางขจัดอุปสรรคและยกระดับความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาจังหวัดบึงกาฬแบบบูรณาการ

วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, 2024

การประสานความร่วมมือได้กลายมาเป็นองค์ประกอบสำคัญของการบริหารกิจการสาธารณะในยุคปัจจุบัน นำมาสู่ควา... more การประสานความร่วมมือได้กลายมาเป็นองค์ประกอบสำคัญของการบริหารกิจการสาธารณะในยุคปัจจุบัน นำมาสู่ความสนใจของการงานศึกษาวิจัยชิ้นนี้ซึ่งมุ่งวิเคราะห์ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐกับภาคส่วนอื่น ๆ ในจังหวัดบึงกาฬและวิเคราะห์แนวทางยกระดับความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาจังหวัดแบบบูรณาการของสำนักงานจังหวัดบึงกาฬโดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมระหว่างเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 78 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้บริหารภาครัฐและผู้บริหารภาคเอกชน 38 คน และกลุ่มที่สองคือกลุ่มประชาชนใน 8 อำเภอ ครอบคลุมทั้งจังหวัดบึงกาฬรวม 40 คน โดยนักวิจัยใช้ Microsoft Excel ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและใช้ Atlas.ti ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ
ผลการศึกษาพบว่าระดับของการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐ เอกชน และประชาชนในบึงกาฬอยู่ในระดับปานกลาง โดยความร่วมมือระหว่างหน่วยงานราชการด้วยกันเองมีความเป็นหนึ่งเดียวกันสูง แต่ความร่วมมือระหว่างประชาชนกับราชการอยู่ในระดับปานกลาง และความร่วมมือระหว่างเอกชนกับราชการอยู่ในระดับที่ต่ำ อีกทั้ง งานศึกษาชิ้นนี้ยังพบปัจจัยที่เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการทำงานร่วมกันในจังหวัดบึงกาฬประกอบด้วย 9 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ขาดการส่งเสริมจากภาครัฐ ประชาชนในจังหวัดยังตื่นตัวน้อย ความเห็นต่างทางการเมือง ขาดตัวกลางในการเชื่อมโยงความร่วมมือ ความตระหนักรู้ของประชาชน สถานภาพทางเศรษฐกิจของประชาชน แรงงานไปทำงานต่างถิ่น การสื่อสารที่ไม่มีประสิทธิภาพ และปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงโยกย้ายตำแหน่งงานของข้าราชการ ตลอดจน งานวิจัยนี้ยังได้วิเคราะห์แนวทางเพื่อยกระดับความร่วมมือในบึงกาฬ โดยแบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการพัฒนากลไกกลางเพื่อประสานความร่วมมือโดยเฉพาะ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมอย่างครอบคลุม การส่งเสริมให้ภาคเอกชนและประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการทำงานร่วมกัน และนโยบายที่เน้นการสร้างอาชีพและรายได้ให้กับประชาชน

Research paper thumbnail of ภาคีภิบาล: แนวคิดพื้นฐานและแนวทางการศึกษาวิจัยในอนาคต (Collaborative Governance: Theoretical Foundation and Future Research Agenda)

วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2023

บทความนี้มุ่งอธิบายรากฐานแนวคิด การถอดความหมายเชิงทฤษฎีของภาคีภิบาล รวมถึงนำเสนอแนวทางในการศึกษาภ... more บทความนี้มุ่งอธิบายรากฐานแนวคิด การถอดความหมายเชิงทฤษฎีของภาคีภิบาล รวมถึงนำเสนอแนวทางในการศึกษาภาคีภิบาลที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานวิจัยด้านความร่วมมือในบริบทต่าง ๆ โดยส่วนแรกของบทความมุ่งนำเสนอรากฐานแนวคิดและการถอดความหมาย “ภาคีภิบาล” ในเชิงทฤษฎี ตลอดจนข้อถกเถียงว่าด้วยความต่างทางนิยามศัพท์และได้นำเสนอระเบียบวิธีในการศึกษาภาคีภิบาล 3 แนวทางหลัก คือ การศึกษาความร่วมมือระหว่างภาคส่วน การศึกษาความร่วมมือระหว่างองค์กร และการศึกษาระบอบการจัดการของความร่วมมือหนึ่ง ๆ บทความนี้ยังได้วิเคราะห์ประเด็นที่ควรได้รับการศึกษาวิจัยต่อยอดในอนาคตซึ่งจะช่วยขยายพรมแดน องค์ความรู้และทฤษฎีของภาคีภิบาลให้สมบูรณ์มากขึ้น ได้แก่ ประเด็นความหลากหลายทางวัฒนธรรมขององค์กร โครงสร้างของสมาชิก และการวิเคราะห์ตัวแบบหรือระบอบภาคีภิบาลระดับเมือง

Research paper thumbnail of โซ่พิสัยโมเดล ตัวแบบการพัฒนาท้องถิ่นแนวใหม่ด้วยกลไกพิพิธภัณฑ์ชุมชน (The So Phisai Model: A New Approach to Local Development Based on Community Museum Mechanism)

บทความนี้มุ่งนำเสนอแนวคิดพิพิธภัณฑ์วิทยากับบทบาทในฐานะศูนย์กลางขับเคลื่อนการพัฒนาในระดับท้องถิ่น ... more บทความนี้มุ่งนำเสนอแนวคิดพิพิธภัณฑ์วิทยากับบทบาทในฐานะศูนย์กลางขับเคลื่อนการพัฒนาในระดับท้องถิ่น โดยศึกษาวิเคราะห์บทเรียนการดำเนินงานของพิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิต จังหวัดบึงกาฬ และเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ชุมชนรวม 8 แห่ง ในอำเภอโซ่พิสัยจนเกิดเป็น “โซ่พิสัยโมเดล” ที่เน้นย้ำความสำคัญของพิพิธภัณฑ์ในการริเริ่ม ขับเคลื่อน และเชื่อมโยงกิจกรรมการพัฒนาตั้งแต่ระดับชุมชน ตำบล และอำเภอ ตลอดจนยังนำเสนอแนวทางในการยกระดับต้นทุนของชุมชนแบบใหม่ที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและกระจายรายได้ให้กับคนในท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ บทความนี้ยืนยันว่ากลไกพิพิธภัณฑ์ชุมชนมีศักยภาพสูงที่สามารถเป็นทั้งกลไกหลักและกลไกทางเลือกใหม่สำหรับการพัฒนาท้องถิ่นในประเทศไทยที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถนำไปปรับใช้เพื่อยกระดับการพัฒนาในพื้นที่ได้อย่างรอบด้าน อีกทั้ง ยังพบว่าพิพิธภัณฑ์เป็นภาคส่วนที่ขาดหายไปในงานศึกษาทฤษฎีภาคีภิบาลของไทยด้วย ดังนั้น หากมีการขยายผลหรือยกระดับบทบาทของพิพิธภัณฑ์ชุมชนในพื้นที่ต่าง ๆ และมีการศึกษาวิจัยกลไกการดำเนินงานของพิพิธภัณฑ์ชุมชนเหล่านี้ในระบบความร่วมมือหนึ่ง ๆ มากยิ่งขึ้นก็จะช่วยขยายพรมแดนองค์ความรู้ของทฤษฎีภาคีภิบาลในระบบการพัฒนาท้องถิ่นได้มากขึ้น

Research paper thumbnail of Roles of policy brokers in collaborative governance: Evidence from Khon Kaen and Bueng Kan cities in Thailand

Asian Politics & Policy, 2022

This article examines the roles of policy brokers in different settings of collaboration in Khon ... more This article examines the roles of policy brokers in different settings of collaboration in Khon Kaen and Bueng Kan Cities in Thailand. It integrates the advocacy coalition and multiple stream frameworks to view how a policy broker in different collaborative settings would manage their preferred urban transport

Research paper thumbnail of การพัฒนาเมืองอัจฉริยะขอนแก่น (Khon Kaen Smart City Development)

คลังนานาวิทยา, 2021

“เมือง” ได้ถูกนำมาใช้เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็น... more “เมือง” ได้ถูกนำมาใช้เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ รวมถึงเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจและสังคมให้กับประเทศด้วย เช่นเดียวกับแนวคิด “เมืองอัจฉริยะ (smart city)” ที่รัฐบาลในหลายประเทศทั่วโลกตระหนักต่ออิทธิพลและความสำคัญของการพัฒนาเมืองอย่างบูรณาการระหว่างคน เมือง และเทคโนโลยี ให้มีความอัจฉริยะและสมดุลใน 7 ด้าน อันประกอบด้วยด้านเศรษฐกิจ (economy) สิ่งแวดล้อม (environment) การศึกษา (education) การดำรงชีพ (living) การจัดการภาครัฐ (governance) การจัดการพลังงาน (energy) และการคมนาคมขนส่ง (mobility) การพัฒนาเมืองในด้านต่าง ๆ เหล่านี้ให้มีความอัจฉริยะอย่างสมบูรณ์แบบจนกลายเป็น “เมืองอัจฉริยะ” จะนำไปสู่
การพัฒนาเมืองให้ทันยุค ทันสมัยและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีของโลกได้เป็นอย่างดี
หนังสือ “การพัฒนาเมืองอัจฉริยะขอนแก่น” เล่มนี้ เป็นผลการศึกษาส่วนหนึ่งที่ได้จากโครงการวิจัย “การวางแผนกลยุทธ์ในการนำนโยบายการพัฒนาตามแนวทางเมืองอัจฉริยะไปสู่การปฏิบัติ: การถอดบทเรียน การประเมินการตรวจสอบความตรง และการพัฒนาข้อเสนอแนะ” นี้ คณะผู้วิจัย ซึ่งนำโดยรองศาสตราจารย์ ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ และคณะ ได้มุ่งมั่นจัดทำงานวิจัยชิ้นนี้ขึ้นมาภายใต้ความคาดหวังเพื่อถอดบทเรียนและสังเคราะห์แนวทางการพัฒนาเมืองอัจฉริยะให้สอดรับบริบทของประเทศไทย เพื่อให้ “เมืองอัจฉริยะ” ได้กลายเป็นอีกหนึ่งฟันเฟืองหรือเครื่องมือชิ้นใหม่ในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมด้านต่าง ๆ ให้กับประเทศ ซึ่งโครงการวิจัยดังกล่าวนี้ ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ประจำปีงบประมาณ 2562

Research paper thumbnail of การจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองในระดับโรงเรียนของญี่ปุ่น ​(Civic Education in Japanese School)

วารสารมนุษย์กับสังคม, 2020

บทความนี้มีเป้าหมายเพื่อศึกษานโยบาย แบบแผนการจัดการศึกษา ตลอดจนวิเคราะห์บริบทที่เอื้อต่อการเสริมส... more บทความนี้มีเป้าหมายเพื่อศึกษานโยบาย แบบแผนการจัดการศึกษา ตลอดจนวิเคราะห์บริบทที่เอื้อต่อการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองในโรงเรียนของญี่ปุ่น โดยใช้การวิจัยเอกสารและทบทวนวรรณกรรมเป็นวิธีหลักในการศึกษาวิจัย ผลการศึกษาพบว่า ญี่ปุ่นมีเป้าหมายการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้ได้รับความรู้ที่จำเป็นสำหรับนำไปใช้ “สร้างสังคมและชาติที่เป็นประชาธิปไตยอย่างสงบสุข” มีนโยบายการศึกษาตามหลัก “Zest for Life” ที่มุ่งพัฒนาพลเมืองในสามด้านหลัก คือ ความรู้ทางวิชาการ ความมีมนุษยธรรม และความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกาย นอกจากนี้ การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาพลเมืองในโรงเรียนสามารถจำแนกได้เป็น 2 แบบแผน ได้แก่ การจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองอย่างเข้มข้นและบูรณาการในการศึกษาภาคบังคับ และการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาพลเมืองแบบปัจเจกในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สำาหรับบริบทที่เอื้อต่อการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองประกอบด้วย บริบทบาทภายในและภายนอกโรงเรียน ได้แก่ 1) การพัฒนาองค์ความรู้และความเข้าใจของผู้เรียนตามหลักสูตร 2) การจัดการเรียนการสอนพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองอันพึงประสงค์ในโรงเรียน 3) มิติด้านการพัฒนาทักษะเพื่อสร้างเสริมความเข้าใจด้านความเป็นพลเมืองแบบบูรณาการ 4) การศึกษาทางสังคมนอกโรงเรียนโดยใช้ชุมชนและสังคมเป็นฐานในการพัฒนานักเรียน และ 5) กระบวนการผลิตซ้ำค่านิยมแบบคติร่วมในสังคมญี่ปุ่น

Research paper thumbnail of การยกระดับความโปร่งใสในภาครัฐ : กรณีศึกษาจากประเทศญี่ปุ่น (How Should Transparency Be Arranged? A Japanese Case)

Journal of Local Administration, 2018

Japan has been ranked as the twentieth most transparent government in the world and the third cle... more Japan has been ranked as the twentieth most transparent government in the world and the third cleanest country in Asia. However, there is no specific anti-corruption agency and transparency assessment to curb corruption in the Japanese governance. How does Japan deal with corruption and its transparency? This paper delves into an explanation to this question. The main purposes are to (1) examine corrupt practices in the public sector of Japan, and (2) scrutinize the Japanese ways to deal with corruption and transparency enhancement in the Japanese public sector. The author uses documentary research as the main methodology for this study. Results show that Japan has a relatively low proportion of corruption in both national and local governments. The Japanese ways to cope with corruption and transparency in public sector could be classified into two means. First, an internal preventative mechanism consists of five elements which are; ringi-sei system, official payment, proper remuneration, oobeya-shugi system, and frequency of official rotation. Second, an external corruption control apparatus consists of three components which are: participatory countermeasure of local residents by Citizens' Ombudsman Network, survey on the causes of corruption in local government, and capacity and independence of investigation authorities.

Research paper thumbnail of การศึกษาเปรียบเทียบองค์กรที่ปฏิบัติงานด้านการต่อต้านคอร์รัปชั่นในสิงคโปร์ ฮ่องกง และ เกาหลีใต้ : ข้อเสนอแนะต่อประเทศไทย (A Comparative Study on Anti-Corruption Agencies in Singapore, Hong Kong, and the Republic of Korea: Recommendations for Thailand)

วารสารการเมืองการปกครอง, 2019

This article focuses on 1.) roles, structures, and working procedures of Anti-Corruption Agencies... more This article focuses on 1.) roles, structures, and working procedures of Anti-Corruption Agencies (ACA) in Singapore, Hong Kong, and the Republic of Korea; 2.) recommendations to improve the ACAs' performances of Thailand. Author uses the documentary research as the main methodology for this study. The results show that prominent strategy of Hong Kong's ACA is the " three-pronged strategy " , which goes along with the simplicity of its organization's structure designation, effective media utilization, and local participation to fight against corruption. Singapore's ACA is a centralized, small, and flexible organization with strong and powerful law enforcement. There is also a highly effective anti-corruption mechanism in Singapore which is; strong political wills to deal with corruption, tough law enforcement, public sector efficiency, and independence of ACA. In the Republic of Korea, the ACA is merged from related three anti-corruption organizations, and the structure of national ACA's committee is effective to curb with corruptions in both political and public sectors. There is also a striking dual-corruption assessment system which is effective to interfere the corruption in public sector. However, the creation of local anti-corruption commission (LACC); related public agencies on anti-corruption affairs should be merged, and enhancing the proactive corruption prevention mechanisms, should be useful and effective ways to improve the ACA's performances in Thailand.

Research paper thumbnail of Book Review บทวิจารณ์หนังสือ พัฒนาการการบริหารภาครัฐของไทย.pdf

“...วิวัฒนาการของการบริหารหารจัดการภาครัฐของประเทศไทยพัฒนาไปอย่างไร... ประเทศไทยยังเป็นรัฐที่มีรู... more “...วิวัฒนาการของการบริหารหารจัดการภาครัฐของประเทศไทยพัฒนาไปอย่างไร... ประเทศไทยยังเป็นรัฐที่มีรูปแบบการบริหารจัดการแบบล้าสมัยหรือก้าวขึ้นมาสู่ประเทศที่มีรูปแบบการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่... แล้วอะไรคือตัวสะท้อนระดับการพัฒนาการบริหารภาครัฐของไทย... ตลอดจนการปฏิรูปภาครัฐของไทยตามแนวคิดสมัยใหม่ประสบความสำเร็จจริงหรือไม่ แล้วท้ายที่สุด ทิศทางและอนาคตของการบริหารจัดการภาครัฐของประเทศไทย "ควร" จะดำเนินไปในอย่างไร...? ”

Research paper thumbnail of BOOK REVIEW: Local Government Reform  under the New Public Affairs Management (การปฏิรูปการปกครองท้องถิ่นตามกระบวนทัศน์การบริหารกิจการภาครัฐแนวใหม่)

หากห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์คือแหล่งกำเนิดของแนวคิดและทฤษฏีสำคัญสำหรับสาชาวิชาชีววิทยา เคมี และวิทย... more หากห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์คือแหล่งกำเนิดของแนวคิดและทฤษฏีสำคัญสำหรับสาชาวิชาชีววิทยา เคมี และวิทยาศาสตร์ “การปกครองท้องถิ่น” ก็คือห้องทดลองของสาขาสังคมศาสตร์ที่ช่วยให้เราเข้าใจพลวัติของการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยได้เป็นอย่างดี (Nalbandian, 2006; วุฒิสาร ตันไชย, 2550) ซึ่งการปกครองส่วนท้องถิ่นถือเป็นหน่วยงานหลักที่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด และมีความสามารถในการบริหารจัดการและให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนในท้องถิ่นของตนเองได้เป็นอย่างดี โดยการปกครองท้องถิ่นเป็นรูปแบบของการบริหารภาครัฐที่อาศัยการมีส่วนร่วมจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในท้องถิ่นเป็นหลัก ดังนั้น หากเราสามารถสร้างเสริมรากฐานทางการปกครองให้มีความเข้มแข็งตั้งแต่ระดับท้องถิ่นก็ย่อมส่งผลให้การเมืองและการปกครองระดับชาติมีความเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นตามไปด้วย หนังสือ “การปฏิรูปการปกครองท้องถิ่นตามกระบวนทัศน์แห่งการบริหารกิจการสาธารณะแนวใหม่ (Local Government Reform under the New Public Affairs Management)” เล่มนี้ อาจเรียกได้ว่าเป็นสูตรยาแผนปัจจุบันที่จะเป็นตัวช่วยกระตุ้น รักษา และแก้ไขปัญหาด้านต่างๆใน “ภาวะความไม่สมบูรณ์ทางการจัดการปกครองท้องถิ่น” เนื่องจากเป็นหนังสือที่มีความสมบูรณ์และทันสมัย อันเป็นผลงานที่ได้จากการศึกษาวิจัยของผู้ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านการปกครองท้องถิ่น การบริการกิจการสาธารณะ และการบริหารจัดการภาครัฐเป็นอย่างดี โดยหนังสือเล่มนี้จะทำให้ผู้ศึกษาได้เข้าใจถึงสถานภาพและแนวคิดสำคัญในการปฏิรูปการปกครองท้องถิ่นอย่างแจ่มชัด โดยผู้เขียนได้นำเสนอผลการศึกษาด้วยการกลั่นแนวคิดสำคัญอันมีประโยชน์ยิ่งเพื่ออธิบายให้ผู้อ่านได้เข้าใจถึงสถานภาพการปกครองท้องถิ่นในมิติต่างๆอย่างครอบคลุมทั้ง “ที่มา ที่เป็น และที่ไป ของการปกครองส่วนท้องถิ่นไทย” ได้อย่างละเอียด ลึกซึ้ง และเข้าใจง่าย

Research paper thumbnail of PEACE STUDY FOR LOCAL DEVELOPMENT AND ADMINISTRATION: THAI LOCAL CONTEXT WITH HANDLING PROBLEMS OF SOCIAL CONFLICTS IN THE FUTURE

This article focuses on the potentiality of local government to resolve the conflicts in Thailand... more This article focuses on the potentiality of local government to resolve the conflicts in Thailand. And also presents the conflict resolutions in Indonesia which is gives the priority to devolutions and competencies of local governments. The author uses many sources such as books, documentaries, articles, journals and related publications. The result is found that the current solutions of Thailand that use the Central Government is not only appropriate and the local government has high potential to solve conflictions. But a major obstacle is the "limitations " , current local government's status is " Hemiparesis " in administration. In Indonesia has peaceful level is higher than Thailand. As well as violence level is lower than Thailand. Furthermore, there are the approaches that give priority to the rights and people's needs with devolutions to the provinces which have been conflicting for many decades such as Papua and Aceh. คํ าสํ าคั ญ : ศั กยภาพของท้ องถิ ? นไทย, การแก้ ไขปั ญหาความขั ดแย้ ง, ประเทศอิ นโดนิ เซี ย Keywords: The potential of Thai local government, Conflict resolutions, Indonesia 1 สุ ริ ยานนท์ พลสิ ม. (0112). " สั นติ ศึ กษาเพื < อการบริ หารและพั ฒนาท้ องถิ < น ". การประชุ มวิ ชาการ ระดั บชาติ ด้ านการบริ หารกิ จการ สาธารณะ ครั N งที < 0.

Research paper thumbnail of เอกสารประกอบการบรรยายหัวข้อนโยบายสาธารณะ

เอกสารประกอบการบรรยายหัวข้อนโยบายสาธารณะ วิชานโยบายสาธารณะ สำหรับนักศึกษาปริญญาตรีหลักสูตรรัฐประศ... more เอกสารประกอบการบรรยายหัวข้อนโยบายสาธารณะ วิชานโยบายสาธารณะ สำหรับนักศึกษาปริญญาตรีหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรร์ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2562

Research paper thumbnail of นิยาม องค์ประกอบ ดัชนีชี้วัด และผลลัพธ์แห่งการเป็นเมืองอัจฉริยะ (Understanding Smart City)

Research paper thumbnail of แนวคิดและทฤษฎีการศึกษานโยบายทางสังคม (Concepts and Theories for Social Policy Studies)

Khon Kaen University Press, 2020

“แนวคิดและทฤษฎีการศึกษานโยบายทางสังคม (Concepts and Theories for Social Policy Studies)” เล่มนี้ ... more “แนวคิดและทฤษฎีการศึกษานโยบายทางสังคม (Concepts and Theories for Social Policy Studies)” เล่มนี้ ผู้เขียนได้เรียบเรียงเนื้อหาที่จะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาทำความเข้าใจวิชานโยบายทางสังคมสำหรับนักศึกษาในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาขารัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ สังคมสงเคราะห์ และการบริหารการพัฒนา ซึ่งหนังสือเล่มนี้ ประกอบด้วยเนื้อหาทั้งหมด 5 บท ในบทที่ 1 เป็นแนวคิดพื้นฐานที่นักศึกษาจำเป็นต้องเรียนรู้เกี่ยวกับการศึกษานโยบายทางสังคมในมิติต่าง ๆ ส่วน บทที่ 2 เป็นเรื่องของแนวคิดหลักที่นำไปใช้ในการศึกษา อธิบาย หรือวิเคราะห์นโยบายทางสังคมด้านต่าง ๆ สำหรับบทที่ 3 เป็นเรื่องของกลไกเชิงสถาบันในระบบการจัดสวัสดิการทางสังคม บทที่ 4 เกี่ยวข้องกับสวัสดิการของรัฐด้านต่าง ๆ รวมถึงการจัดทำนโยบายสาธารณะ สินค้าสาธารณะ บริการสาธารณะ และการประเมินนโยบายทางสังคมของรัฐด้วย และบทที่ 5 เกี่ยวข้องกับกรอบแนวคิดในการศึกษาและวิเคราะห์รัฐสวัสดิการ รวมถึงลักษณะสำคัญของตัวแบบรัฐสวัสดิการประเภทต่าง ๆ ด้วย สนใจติดต่อสั่งซื้อได้ที่ศูนย์หนังสือ ม.เกษตรศาสตร์ และศูนย์หนังสือจุฬา ฯ (CU Book Store) ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ สั่งซื้อผ่านเว็บไซต์ www.chulabook.com

Research paper thumbnail of ขอนแก่นโมเดล (Khon Kaen Model)

Research paper thumbnail of ทฤษฏีรัฐประศาสนศาสตร์กับการจัดการปกครองส่วนท้องถิ่น พิมพ์ครั้งที่ 2 แก้ไขเพิ่มเติม

Khon Kaen University Press, 2022

หนังสือ “ทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์และการจัดการปกครองส่วนท้องถิ่น” พิมพ์ครั้งที่ 2 แก้ไขเพิ่มเติม เล่ม... more หนังสือ “ทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์และการจัดการปกครองส่วนท้องถิ่น” พิมพ์ครั้งที่ 2 แก้ไขเพิ่มเติม เล่มนี้ แบ่งเนื้อหาออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกเป็น “ภาคแนวคิดทฤษฎี” ที่จะช่วยสร้างความเข้าใจให้กับผู้อ่านได้เห็นถึงจุดเน้นและพลวัตการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์นับตั้งแต่ยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่งจนถึงยุคสมัยใหม่ สำหรับส่วนที่สอง นักศึกษาจะได้เรียนรู้ทฤษฎีสำคัญของการจัดการปกครองท้องถิ่นมิติต่าง ๆ จากนั้น ในส่วนท้าย หนังสือเล่มนี้จะนำพาให้นักศึกษา ได้นำเอาองค์ความรู้ทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์และการจัดการปกครองท้องถิ่นที่ได้ศึกษามาตั้งแต่ต้น ไปวิเคราะห์ข้อเท็จจริงเชิงการจัดการท้องถิ่นในประเทศไทยว่า ประเด็นปัญหาเชิงปฏิบัติที่เกิดขึ้นจริงเหล่านี้ สามารถนำเอาทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์และหลักการปกครองส่วนท้องถิ่นใดไปอธิบาย วิเคราะห์ หรือทำความเข้าใจได้ อย่างไรบ้าง อันเป็นเสมือนหนังสือเพื่อช่วยให้นักศึกษาได้เข้าใจ “#บทเรียนเชิงทฤษฎีในกรณีปฏิบัติ” อย่างแจ่มแจ้ง ติดต่อสั่งซื้อได้ที่ศูนย์หนังสือ ม.เกษตรศาสตร์ และศูนย์หนังสือจุฬา ฯ ทุกสาขา หรือ สั่งซื้อผ่านเว็บไซต์ www.chulabook.com