Kullaphut Sene | Silpakorn University (original) (raw)
Uploads
Papers by Kullaphut Sene
บทคดยอ: อาคารแถวในภมทศนยานประวตศาสตรของตวเมองจงหวดลพบร ตงอยสองฟากของถนนพระรามซงวางตวขนานกบแมนำลพบ... more บทคดยอ: อาคารแถวในภมทศนยานประวตศาสตรของตวเมองจงหวดลพบร ตงอยสองฟากของถนนพระรามซงวางตวขนานกบแมนำลพบร ทำเลทตงดงกลาวทำหนาทเปนยานการคามาตงแตสมยอยธยาในรชกาลสมเดจพระนารายณมหาราชมาเปนอยางชา เนองจากมสถานะเปนชมทางทแมนำหลายสายไหลมาบรรจบจงทำหนาทเปนศนยกลางการคาขายแลกเปลยนสนคา และจดเปลยนรปแบบการคมนาคมทสำคญของพนทภาคกลาง จนสมยรตนโกสนทรยานการคาจดนกยงทำหนาทเรอยมาจงมการปลกสรางอาคารแถวเพอทำหนาทเปนทอยอาศยและคาขาย โดยในระยะแรกเทาทมหลกฐานยนยนนนเปนอาคารปลกสรางดวยไม ในทนจงเรยกวา “เรอนแถวไมพนถน” ตอมามการสราง “ตกแถวพนถน” ทมลกษณะเปนอาคารกออฐ โดยการกอรปขนนนมความสมพนธขนกบบรบทแวดลอมทางสงคม และเศรษฐกจอยางใกลชด โดยเฉพาะการมาถงของรถไฟในทศวรรษท 2440 ซงไดนำพาวสดกอสรางจำพวกเหลก และการมาถงของปนซเมนตยงเปนจดเรมตนของการลดบทบาทเสนทางสญจรทางนำทมมาในอดตลง เมอมการตดถนนสายพหลโยธนกบสายเอเชย รวมถงการสรางเขอนวดมณชลขนธ เปนปจจยสำคญทสงผลกระทบตอบทบาทของการเปนชมทางทางนำของยานตลาดลางเมองลพบรสนสดลงไปในทสด อยางไรกด ชมชนตลาดลางกยงคงทำหนาทเปนตลาดแลกเปลยนสนคาอปโภค-บรโภคภายในทองถนอย ซงในชวงเวลาเดยวกนนมความนยมในการกอสรางอาคารแถวทเรยกวาเปน “ตกแ...
สำหรับการศึกษานี้ มุ่งทำการศึกษาเรื่อง “การใช้สอยพื้นที่ภายในอาคาร” และ “รูปแบบทางสถาปัตยกรรม” ขอ... more สำหรับการศึกษานี้ มุ่งทำการศึกษาเรื่อง “การใช้สอยพื้นที่ภายในอาคาร” และ “รูปแบบทางสถาปัตยกรรม”
ของกุฏิสงฆ์ขนาดใหญ่ จำนวน 4 หลัง จากการลงพื้นที่สำรวจภาคสนาม กรณีศึกษาวัดชลธาราสิงเห 3 หลัง และ
วัดโคกมะเฟือง 1 หลัง ในอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส กุฏิขนาดใหญ่ทั้งหมดที่นำมาใช้เป็นกรณีศึกษาเป็นตัวแทน
สถาปัตยกรรมที่มีความสำคัญต่อการเป็นตัวแทนในการอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นภายในพื้นที่
เมื่อทำการศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบทางสถาปัตยกรรมและการใช้สอยพื้นที่ภายในอาคาร พบว่า แตกต่างจากรูปแบบหมู่
กุฏิที่พบในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาซึ่งเป็นกุฏิสงฆ์ที่มีรูปแบบการจัดวางพื้นที่และรูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่สืบทอดมาจาก
อดีตและมีความสัมพันธ์กับเครือข่ายพระพุทธศาสนาในดินแดนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามาอย่างต่อเนื่องยาวนาน อย่างไรก็ตาม
คุณลักษณะที่พบจากการวิเคราะห์แบบแผนของกุฎิขนาดใหญ่ที่มุ่งศึกษานั้นกลับมีคุณลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่
แตกต่างออกไป ทั้งรูปแบบของการวางผังพื้น การผนวกพื้นที่อเนกประสงค์แบบ “ศาลาโรงธรรม” เข้ามาภายในอาคาร
การมีพื้นที่ชั้นสองใต้หลังคา รูปแบบของผนังและระบบการระบายอากาศภายในอาคาร รวมไปถึงคุณลักษณะของการ
ปกป้องระแวดระวัง ที่ปรากฏผ่านการออกแบบสถาปัตยกรรม
.
For the study, it focuses on analyzing “Floor space planning” and “Typology of Architectures” of the
largest monk cells (a.k.a. “Kuti”) in Buddhist monasteries that are in Buddhist Communities at Takbai, Narathiwas
Province, Thailand. According to the fieldwork survey, 3 of 4 Kuti-abbot’s dwelling from Wat Chonthara Singhe
and 1 of 4 from Wat Kok Ma Feuang were chosen to study. However, the largest monastic cell in Buddhist
monasteries are different from the traditional Buddhist Monasteries in Songkhla Lake Basin which also has
strong relationship with Buddhism organization in Chaopraya Basin and Theravada Buddhism in Central of
Thailand. The research shows that they have specific and significant characters, such as the typology, the floor
space planning, integrated multipurpose area, “Sala rongtham”, attic, wood carving and ventilation panel.
เรือนแถวพื้นถิ่นในภูมิทัศน์ย่านประวัติศาสตร์ชุมชนตลาดล่าง เมืองลพบุรี (Vernacular Rowhouse in His... more เรือนแถวพื้นถิ่นในภูมิทัศน์ย่านประวัติศาสตร์ชุมชนตลาดล่าง เมืองลพบุรี
(Vernacular Rowhouse in Historic Urban Landscape of
Talad Lang Rama Street, Lopburi Province)
กุลพัชร์ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา และเกรียงไกร เกิดศิริ
Kullaphut Sene Na Ayuddhaya and Kreangkrai Kirdsiri.
.
การอ้างอิง
กุลพัชร์ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา และเกรียงไกร เกิดศิริ. "เรือนแถวพื้นถิ่นในภูมิทัศน์ย่านประวัติศาสตร์ชุมชนตลาดล่าง เมืองลพบุรี"
ในวารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ปีที่ 15 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน) ประจำปี 2559.
ขอนแก่น: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. หน้า 77-98.
.
บทคัดย่อ:
อาคารแถวในภูมิทัศน์ย่านประวัติศาสตร์ของตัวเมืองจังหวัดลพบุรี ตั้งอยู่สองฟากของถนนพระรามซึ่งวางตัวขนานกับแม่น้ำลพบุรี ทำเลที่ตั้งดังกล่าวทำหน้าที่เป็นย่านการค้ามาตั้งแต่สมัยอยุธยาในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชมาเป็นอย่างช้า เนื่องจากมีสถานะเป็นชุมทางที่แม่น้ำหลายสายไหลมาบรรจบจึงทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้า และจุดเปลี่ยนรูปแบบการคมนาคมที่สำคัญของพื้นที่ภาคกลาง จนสมัยรัตนโกสินทร์ย่านการค้าจุดนี้ก็ยังทำหน้าที่เรื่อยมาจึงมีการปลูกสร้างอาคารแถวเพื่อทำหน้าที่เป็นที่อยู่อาศัยและค้าขาย โดยในระยะแรกเท่าที่มีหลักฐานยืนยันนั้นเป็นอาคารปลูกสร้างด้วยไม้ ในที่นี้จึงเรียกว่า “เรือนแถวไม้พื้นถิ่น” ต่อมามีการสร้าง “ตึกแถวพื้นถิ่น” ที่มีลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐ โดยการก่อรูปขึ้นนั้นมีความสัมพันธ์ขึ้นกับบริบทแวดล้อมทางสังคม และเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการมาถึงของรถไฟในทศวรรษที่ 2440 ซึ่งได้นำพาวัสดุก่อสร้างจำพวกเหล็ก และการมาถึงของปูนซีเมนต์ยังเป็นจุดเริ่มต้นของการลดบทบาทเส้นทางสัญจรทางน้ำที่มีมาในอดีตลง เมื่อมีการตัดถนนสายพหลโยธินกับสายเอเชีย รวมถึงการสร้างเขื่อนวัดมณีชลขันธ์ เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อบทบาทของการเป็นชุมทางทางน้ำของย่านตลาดล่างเมืองลพบุรีสิ้นสุดลงไปในที่สุด อย่างไรก็ดี ชุมชนตลาดล่างก็ยังคงทำหน้าที่เป็นตลาดแลกเปลี่ยนสินค้าอุปโภค-บริโภคภายในท้องถิ่นอยู่ ซึ่งในช่วงเวลาเดียวกันนี้มีความนิยมในการก่อสร้างอาคารแถวที่เรียกว่าเป็น “ตึกแถวสมัยใหม่ระยะต้น” ที่แสดงนัยยะของความทันสมัยตามแนวความคิดของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ซึ่งต้องการพัฒนาเมืองลพบุรีให้เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ สังคม และการทหารด้วย
.
Abstract:
Vernacular rowhouses in historic urban landscape of Lopburi Province were situated along the Lopburi River. Such area was considered commercial zone during the reign of King Narai due to the location where rivers met. It was not only for trade, but also transportation, which still played important roles in Rattamakosin Period. Vernacular rowhouses were constructed for both residential and commercial purposes. Due to the evidences, wooden vernacular rowhouses were found in the old days, then masonry buildings came to replace. This directly related to social and economic status of the city when railways came in 1897. In other words, construction materials like iron and cement were brought to the city. Hence, rivers played less important roles. In addition, when the central government initiated Paholyothin Road and the Asian Highway, as well as the dam at Maneecholkhan Temple, transportation and trade via rivers seemed to end their roles. However, market still played significant role as the trade centre for communities. At the same time, modern shophouses were introduced by Field Marshal Plaek Pibulsongkram, the Prime Minister who aimed to develop Lopburi Province as the centre for Thai economy, society, and army.
.
คำสำคัญ (Keyword):
ภูมิทัศน์ย่านประวัติศาสตร์ (Historical urban landscape) / สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น (Vernacular Architecture) / อาคารแถว (Rowhouse) / เรือนแถวไม้ (Wooden Rowhouse) / ตึกแถว (brick and Concreat Rowhouse) ตึกแถวการค้า (Shophouse) / ลพบุรี (Lopburi)
อาคารแถวในภูมิทัศน์ย่านประวัติศาสตร์ลพบุรี ตั้งอยู่สองฟากของถนนพระรามซึ่งวางตัวขนานกับแม่น้ำลพบุร... more อาคารแถวในภูมิทัศน์ย่านประวัติศาสตร์ลพบุรี ตั้งอยู่สองฟากของถนนพระรามซึ่งวางตัวขนานกับแม่น้ำลพบุรี ทำเลที่ตั้งดังกล่าวทำหน้าที่เป็นย่านการค้ามาตั้งแต่สมัยอยุธยาในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชมาเป็นอย่างช้า เนื่องจากมีสถานะเป็นชุมทางที่แม่น้ำหลายสายไหลมาบรรจบจึงทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้า และจุดเปลี่ยนรูปแบบการคมนาคมที่สำคัญของพื้นที่ภาคกลาง จนสมัยรัตนโกสินทร์ย่านการค้าจุดนี้ก็ยังทำหน้าที่เรื่อยมาจึงมีการปลูกสร้างอาคารแถวเพื่อทำหน้าที่เป็นที่อยู่อาศัยและค้าขาย โดยในระยะแรกนั้นเท่าที่มีหลักฐานยืนยันนั้นเป็นอาคารปลูกสร้างด้วยไม้ ในที่นี้จึงเรียกว่า “เรือนแถวไม้พื้นถิ่น” ต่อมามีการสร้าง “ตึกแถวพื้นถิ่น” ซึ่งมีลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐ ซึ่งการก่อรูปขึ้นนั้นมีความสัมพันธ์กับบริบทแวดล้อมทางสังคม และเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการมาถึงของรถไฟในทศวรรษที่ 2440 ซึ่งได้นำพาวัสดุก่อสร้างจำพวกเหล็ก และปูนซีเมนต์มา และยังเป็นจุดเริ่มต้นของการลดบทบาทเส้นทางสัญจรทางน้ำที่มีมาในอดีตลง และเมื่อมีการตัดถนนสายพหลโยธิน และสายเอเชีย และการสร้างเขื่อนวัดมณีชลขันธ์ทำให้บทบาทของการเป็นชุมทางทางน้ำของย่านตลาดล่างเมืองลพบุรีสิ้นสุดลงไปในที่สุด อย่างไรก็ดี ชุมชนตลาดล่างก็ยังคงทำหน้าที่เป็นตลาดแลกเปลี่ยนสินค้าอุปโภค-บริโภคภายในท้องถิ่นอยู่ ซึ่งในช่วงเวลาเดียวกันนี้มีความนิยมในการก่อสร้างอาคารแถวที่เรียกว่าเป็น “ตึกแถวสมัยใหม่ระยะต้น” ที่แสดงนัยยะของความทันสมัยตามแนวความคิดของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ซึ่งต้องการพัฒนาเมืองลพบุรีให้เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ สังคม และการทหารด้วย
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงกาวิจัย "การศึกษาวิเคราะห์คุณค่า ศักยภาพ และแนวทางการเสนอแหล่งมรดกทา... more บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงกาวิจัย "การศึกษาวิเคราะห์คุณค่า ศักยภาพ และแนวทางการเสนอแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมเพื่อขอรับการพิจารณาเป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมเพิ่มเติม" ภายใต้ "แผนงานวิจัยแผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของภูมิภาคด้วยการจัดการแหล่งมรดกโลกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีป" (ผู้อำนวยการแผนการวิจัย: อาจารย์ ดร. เกรียงไกร เกิดศิริ). สนับสนุนทุนวิจัยโดย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร ปี พ.ศ. 2556.
บทความ “พัฒนาการของรูปแบบสถาปตั ยกรรมพื้นถิ่นที่อยู่อาศัยทรงคุณค่าทางวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาใ... more บทความ “พัฒนาการของรูปแบบสถาปตั ยกรรมพื้นถิ่นที่อยู่อาศัยทรงคุณค่าทางวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาในพื้นที่จังหวัดพัทลุง” เป็นส่วนหนึ่งของ “โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดการความรู้เรื่องที่อยู่อาศัยและวิถีการอยู่อาศัยผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่น พื้นที่ภาคใต้” ซึ่งทำการศึกษาชุมชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในละแวกลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาในเขตจังหวัดพัทลุง ซึ่งจากการศึกษาได้สังเคราะห์ข้อมูลสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรือนที่อยู่อาศัยในพื้นที่ศึกษา รวมทั้งสิ้น 58 หลัง ซึ่งพบข้อมูลที่น่าสนใจหลายประเด็น คือ
1. อาชีพของเจ้าของเรือนกรณีศึกษามีทั้งการทำนา การทำสวนผลไม้ การทำสวนยาง การประมง การค้า ซึ่งในอดีตนั้นแต่ละครัวเรือนจะมีอาชีพหลักที่ค่อนข้างชัดเจน และส่งผลกับเรือนให้มีแบบแผนที่ชัดเจน แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันนั้นไม่สามารถจำแนกเรือนออกเป็นอาชีพได้อย่างตรงไปตรงมานัก เนื่องจากแต่ละครัวเรือนนั้นได้ประกอบอาชีพที่หลากหลายแตกต่างไปจากบริบทของอดีตโดยสิ้นเชิง
2. จากการศึกษาพบว่า พัฒนาการของสถาปัตยกรรมเรือนที่อยู่อาศัยสามารถจำแนกเรือนออกได้ตามบริบทแวดล้อมที่ส่งผลต่อพัฒนาการทางสถาปัตยกรรม 2 ประเด็น คือ “สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่อยู่อาศัยที่แสดงความสัมพันธ์กับสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรือนไทยภาคกลาง” และ “รูปแบบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรือนที่อยู่อาศัยที่มีพัฒนาการของรูปแบบภายใต้บริบทแวดล้อมของพื้นที่”
3. สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรือนที่อยู่อาศัยในระยะแรกนั้นได้รับรูปแบบจากสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรือนไทยภาคกลาง แต่เนื่องจากปัจจัยแวดล้อมด้านต่างๆ อาทิ ภูมิประเทศ ภูมิอากาศวัสดุก่อสร้างในท้องถิ่น และวิถีวัฒนธรรม นั้นแตกต่างจากภาคกลางโดยสิ้นเชิง จึงทำให้รูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่รับมานั้นไม่สอดคล้องกับบริบทแวดล้อมของพื้นที่ เมื่อมีการสร้างเรือนใหม่จึงมีการปรับตัวเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทแวดล้อมของพื้นที่ ดังจะเห็นได้ว่าสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรือนที่อยู่อาศัยในพื้นที่จึงมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบมาโดยตลอด ความเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัด คือ รูปทรงหลังคาที่ระยะแรกนั้นใช้ “หลังคาทรงจั่ว” ต่อมาเปลี่ยนเป็น “หลังคาทรงปั้นหยา” ซึ่งเป็นรูปแบบหลังคาที่ป้องกันแดดฝนได้ดีกว่าหลังคาจั่ว เนื่องจากในพื้นที่ศึกษานั้นเป็นพื้นที่มีอากาศแปรปรวน มีลมและฝนรุนแรง และมีทิศทางการสาดไม่แน่นอน นอกจากนี้ จากการศึกษาพบว่าในการก่อสร้างสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรือนที่อยู่อาศัยในอดีตจะให้ความสำคัญ
กับการหันหน้าเรือนไปทางทิศตะวันออก และให้ห้องนอนอยู่ทางด้านทิศใต้ และเปลี่ยนแปลงคติความเชื่อดังกล่าวในภายหลัง เมื่อมีการตั้งบ้านเรือนสัมพันธ์กับเส้นทางสัญจรทั้งทางนํ้า และทางบก
“Development of Vernacular Architecture in Songkhla Lake Basin, Pattalung Province” is a part of “A Study on the Explicit Knowledge and Local Wisdom in the Field of Housing for Knowledge Management in the South of Thailand” which studies the local communities in the area of Songkhla Lake Basin in Pattalung Province, then synthesizes the data on vernacular architecture, comprising 58 houses. Significant
aspects are as follows:
1. The residents are mostly agriculturalists, farmers, fishermen, and merchants. Occupation used to play important role on housing, so houses are different. However, at present, due to changes in social contexts, members of each house work in different fields, so houses are not very different.
2. Social contexts have affected forms of vernacular architecture into two aspects: vernacular architecture related to that in the central region and vernacular architecture developed through changes in social contexts.
3. Firstly, vernacular dwelling house in Pattalung related to that in the central region, but then developed because of factors like geographical aspects, climate, construction materials, culture, and ways of life. Hence, later, dwelling has been
adapted so as to go compatibly with the surroundings. The most clearly noticed example is the roof. That is, there used to be gable, but then it was replaced by hip roof, because of the monsoon. In addition, building orientation has also changed. In
other words, houses which face the east with the bedroom in the south has changed in order to be compatible with circulation routes.
Arundhati Roy. “ดร. อัมเบดการ์ กับการทลายโครงสร้างอันอยุติธรรมของสังคมอินเดีย (ระบบวรรณะ)”, แปลจา... more Arundhati Roy. “ดร. อัมเบดการ์ กับการทลายโครงสร้างอันอยุติธรรมของสังคมอินเดีย (ระบบวรรณะ)”, แปลจาก Annihilation of caste: The Annotated Critical Edition แปลโดย กุลพัชร์ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา ใน ปาจารยสาร ปีที่ 39 ฉบับที่ 1, (มกราคม – เมษายน 2558). กรุงเทพฯ: หจก. ภาพพิมพ์. หน้าที่ 14 - 31
Jimmy Stamp. “แบทแมนและและเมืองกอทแธม : สัญลักษณ์แห่งความล้มเหลวของระบบ – อิทธิพลของสถาปัตยกรรมที... more Jimmy Stamp. “แบทแมนและและเมืองกอทแธม : สัญลักษณ์แห่งความล้มเหลวของระบบ – อิทธิพลของสถาปัตยกรรมที่มีต่อมนุษย์”, แปลจาก Batman, Gotham City, and an Overzealous Architecture Historian With a Working Knowledge of Explosives แปลโดย กุลพัชร์ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา ใน ปาจารยสาร ปีที่ 36, ฉบับที่ 3, กันยายน – พฤศจิกายน 2555. กรุงเทพฯ: หจก. ภาพพิมพ์. หน้าที่ 75 – 81
Conference Presentations by Kullaphut Sene
สไลด์การบรรยายเรื่อง "งานพระเมรุในสมัยรัตนโกสินทร์: กระบวนทัศน์ที่เปลียนแปรในสถาปัตยกรรมเฉพาะกิจเ... more สไลด์การบรรยายเรื่อง "งานพระเมรุในสมัยรัตนโกสินทร์: กระบวนทัศน์ที่เปลียนแปรในสถาปัตยกรรมเฉพาะกิจเนื่องในการเสด็สู่สวรรคาลัย"
เนื่องในโอกาสวันนริศ ประจำปีพ.ศ.2560
ณ หอประชุม มหาวิทยาลัยศิลปากร
บทคดยอ: อาคารแถวในภมทศนยานประวตศาสตรของตวเมองจงหวดลพบร ตงอยสองฟากของถนนพระรามซงวางตวขนานกบแมนำลพบ... more บทคดยอ: อาคารแถวในภมทศนยานประวตศาสตรของตวเมองจงหวดลพบร ตงอยสองฟากของถนนพระรามซงวางตวขนานกบแมนำลพบร ทำเลทตงดงกลาวทำหนาทเปนยานการคามาตงแตสมยอยธยาในรชกาลสมเดจพระนารายณมหาราชมาเปนอยางชา เนองจากมสถานะเปนชมทางทแมนำหลายสายไหลมาบรรจบจงทำหนาทเปนศนยกลางการคาขายแลกเปลยนสนคา และจดเปลยนรปแบบการคมนาคมทสำคญของพนทภาคกลาง จนสมยรตนโกสนทรยานการคาจดนกยงทำหนาทเรอยมาจงมการปลกสรางอาคารแถวเพอทำหนาทเปนทอยอาศยและคาขาย โดยในระยะแรกเทาทมหลกฐานยนยนนนเปนอาคารปลกสรางดวยไม ในทนจงเรยกวา “เรอนแถวไมพนถน” ตอมามการสราง “ตกแถวพนถน” ทมลกษณะเปนอาคารกออฐ โดยการกอรปขนนนมความสมพนธขนกบบรบทแวดลอมทางสงคม และเศรษฐกจอยางใกลชด โดยเฉพาะการมาถงของรถไฟในทศวรรษท 2440 ซงไดนำพาวสดกอสรางจำพวกเหลก และการมาถงของปนซเมนตยงเปนจดเรมตนของการลดบทบาทเสนทางสญจรทางนำทมมาในอดตลง เมอมการตดถนนสายพหลโยธนกบสายเอเชย รวมถงการสรางเขอนวดมณชลขนธ เปนปจจยสำคญทสงผลกระทบตอบทบาทของการเปนชมทางทางนำของยานตลาดลางเมองลพบรสนสดลงไปในทสด อยางไรกด ชมชนตลาดลางกยงคงทำหนาทเปนตลาดแลกเปลยนสนคาอปโภค-บรโภคภายในทองถนอย ซงในชวงเวลาเดยวกนนมความนยมในการกอสรางอาคารแถวทเรยกวาเปน “ตกแ...
สำหรับการศึกษานี้ มุ่งทำการศึกษาเรื่อง “การใช้สอยพื้นที่ภายในอาคาร” และ “รูปแบบทางสถาปัตยกรรม” ขอ... more สำหรับการศึกษานี้ มุ่งทำการศึกษาเรื่อง “การใช้สอยพื้นที่ภายในอาคาร” และ “รูปแบบทางสถาปัตยกรรม”
ของกุฏิสงฆ์ขนาดใหญ่ จำนวน 4 หลัง จากการลงพื้นที่สำรวจภาคสนาม กรณีศึกษาวัดชลธาราสิงเห 3 หลัง และ
วัดโคกมะเฟือง 1 หลัง ในอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส กุฏิขนาดใหญ่ทั้งหมดที่นำมาใช้เป็นกรณีศึกษาเป็นตัวแทน
สถาปัตยกรรมที่มีความสำคัญต่อการเป็นตัวแทนในการอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นภายในพื้นที่
เมื่อทำการศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบทางสถาปัตยกรรมและการใช้สอยพื้นที่ภายในอาคาร พบว่า แตกต่างจากรูปแบบหมู่
กุฏิที่พบในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาซึ่งเป็นกุฏิสงฆ์ที่มีรูปแบบการจัดวางพื้นที่และรูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่สืบทอดมาจาก
อดีตและมีความสัมพันธ์กับเครือข่ายพระพุทธศาสนาในดินแดนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามาอย่างต่อเนื่องยาวนาน อย่างไรก็ตาม
คุณลักษณะที่พบจากการวิเคราะห์แบบแผนของกุฎิขนาดใหญ่ที่มุ่งศึกษานั้นกลับมีคุณลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่
แตกต่างออกไป ทั้งรูปแบบของการวางผังพื้น การผนวกพื้นที่อเนกประสงค์แบบ “ศาลาโรงธรรม” เข้ามาภายในอาคาร
การมีพื้นที่ชั้นสองใต้หลังคา รูปแบบของผนังและระบบการระบายอากาศภายในอาคาร รวมไปถึงคุณลักษณะของการ
ปกป้องระแวดระวัง ที่ปรากฏผ่านการออกแบบสถาปัตยกรรม
.
For the study, it focuses on analyzing “Floor space planning” and “Typology of Architectures” of the
largest monk cells (a.k.a. “Kuti”) in Buddhist monasteries that are in Buddhist Communities at Takbai, Narathiwas
Province, Thailand. According to the fieldwork survey, 3 of 4 Kuti-abbot’s dwelling from Wat Chonthara Singhe
and 1 of 4 from Wat Kok Ma Feuang were chosen to study. However, the largest monastic cell in Buddhist
monasteries are different from the traditional Buddhist Monasteries in Songkhla Lake Basin which also has
strong relationship with Buddhism organization in Chaopraya Basin and Theravada Buddhism in Central of
Thailand. The research shows that they have specific and significant characters, such as the typology, the floor
space planning, integrated multipurpose area, “Sala rongtham”, attic, wood carving and ventilation panel.
เรือนแถวพื้นถิ่นในภูมิทัศน์ย่านประวัติศาสตร์ชุมชนตลาดล่าง เมืองลพบุรี (Vernacular Rowhouse in His... more เรือนแถวพื้นถิ่นในภูมิทัศน์ย่านประวัติศาสตร์ชุมชนตลาดล่าง เมืองลพบุรี
(Vernacular Rowhouse in Historic Urban Landscape of
Talad Lang Rama Street, Lopburi Province)
กุลพัชร์ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา และเกรียงไกร เกิดศิริ
Kullaphut Sene Na Ayuddhaya and Kreangkrai Kirdsiri.
.
การอ้างอิง
กุลพัชร์ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา และเกรียงไกร เกิดศิริ. "เรือนแถวพื้นถิ่นในภูมิทัศน์ย่านประวัติศาสตร์ชุมชนตลาดล่าง เมืองลพบุรี"
ในวารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ปีที่ 15 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน) ประจำปี 2559.
ขอนแก่น: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. หน้า 77-98.
.
บทคัดย่อ:
อาคารแถวในภูมิทัศน์ย่านประวัติศาสตร์ของตัวเมืองจังหวัดลพบุรี ตั้งอยู่สองฟากของถนนพระรามซึ่งวางตัวขนานกับแม่น้ำลพบุรี ทำเลที่ตั้งดังกล่าวทำหน้าที่เป็นย่านการค้ามาตั้งแต่สมัยอยุธยาในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชมาเป็นอย่างช้า เนื่องจากมีสถานะเป็นชุมทางที่แม่น้ำหลายสายไหลมาบรรจบจึงทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้า และจุดเปลี่ยนรูปแบบการคมนาคมที่สำคัญของพื้นที่ภาคกลาง จนสมัยรัตนโกสินทร์ย่านการค้าจุดนี้ก็ยังทำหน้าที่เรื่อยมาจึงมีการปลูกสร้างอาคารแถวเพื่อทำหน้าที่เป็นที่อยู่อาศัยและค้าขาย โดยในระยะแรกเท่าที่มีหลักฐานยืนยันนั้นเป็นอาคารปลูกสร้างด้วยไม้ ในที่นี้จึงเรียกว่า “เรือนแถวไม้พื้นถิ่น” ต่อมามีการสร้าง “ตึกแถวพื้นถิ่น” ที่มีลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐ โดยการก่อรูปขึ้นนั้นมีความสัมพันธ์ขึ้นกับบริบทแวดล้อมทางสังคม และเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการมาถึงของรถไฟในทศวรรษที่ 2440 ซึ่งได้นำพาวัสดุก่อสร้างจำพวกเหล็ก และการมาถึงของปูนซีเมนต์ยังเป็นจุดเริ่มต้นของการลดบทบาทเส้นทางสัญจรทางน้ำที่มีมาในอดีตลง เมื่อมีการตัดถนนสายพหลโยธินกับสายเอเชีย รวมถึงการสร้างเขื่อนวัดมณีชลขันธ์ เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อบทบาทของการเป็นชุมทางทางน้ำของย่านตลาดล่างเมืองลพบุรีสิ้นสุดลงไปในที่สุด อย่างไรก็ดี ชุมชนตลาดล่างก็ยังคงทำหน้าที่เป็นตลาดแลกเปลี่ยนสินค้าอุปโภค-บริโภคภายในท้องถิ่นอยู่ ซึ่งในช่วงเวลาเดียวกันนี้มีความนิยมในการก่อสร้างอาคารแถวที่เรียกว่าเป็น “ตึกแถวสมัยใหม่ระยะต้น” ที่แสดงนัยยะของความทันสมัยตามแนวความคิดของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ซึ่งต้องการพัฒนาเมืองลพบุรีให้เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ สังคม และการทหารด้วย
.
Abstract:
Vernacular rowhouses in historic urban landscape of Lopburi Province were situated along the Lopburi River. Such area was considered commercial zone during the reign of King Narai due to the location where rivers met. It was not only for trade, but also transportation, which still played important roles in Rattamakosin Period. Vernacular rowhouses were constructed for both residential and commercial purposes. Due to the evidences, wooden vernacular rowhouses were found in the old days, then masonry buildings came to replace. This directly related to social and economic status of the city when railways came in 1897. In other words, construction materials like iron and cement were brought to the city. Hence, rivers played less important roles. In addition, when the central government initiated Paholyothin Road and the Asian Highway, as well as the dam at Maneecholkhan Temple, transportation and trade via rivers seemed to end their roles. However, market still played significant role as the trade centre for communities. At the same time, modern shophouses were introduced by Field Marshal Plaek Pibulsongkram, the Prime Minister who aimed to develop Lopburi Province as the centre for Thai economy, society, and army.
.
คำสำคัญ (Keyword):
ภูมิทัศน์ย่านประวัติศาสตร์ (Historical urban landscape) / สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น (Vernacular Architecture) / อาคารแถว (Rowhouse) / เรือนแถวไม้ (Wooden Rowhouse) / ตึกแถว (brick and Concreat Rowhouse) ตึกแถวการค้า (Shophouse) / ลพบุรี (Lopburi)
อาคารแถวในภูมิทัศน์ย่านประวัติศาสตร์ลพบุรี ตั้งอยู่สองฟากของถนนพระรามซึ่งวางตัวขนานกับแม่น้ำลพบุร... more อาคารแถวในภูมิทัศน์ย่านประวัติศาสตร์ลพบุรี ตั้งอยู่สองฟากของถนนพระรามซึ่งวางตัวขนานกับแม่น้ำลพบุรี ทำเลที่ตั้งดังกล่าวทำหน้าที่เป็นย่านการค้ามาตั้งแต่สมัยอยุธยาในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชมาเป็นอย่างช้า เนื่องจากมีสถานะเป็นชุมทางที่แม่น้ำหลายสายไหลมาบรรจบจึงทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้า และจุดเปลี่ยนรูปแบบการคมนาคมที่สำคัญของพื้นที่ภาคกลาง จนสมัยรัตนโกสินทร์ย่านการค้าจุดนี้ก็ยังทำหน้าที่เรื่อยมาจึงมีการปลูกสร้างอาคารแถวเพื่อทำหน้าที่เป็นที่อยู่อาศัยและค้าขาย โดยในระยะแรกนั้นเท่าที่มีหลักฐานยืนยันนั้นเป็นอาคารปลูกสร้างด้วยไม้ ในที่นี้จึงเรียกว่า “เรือนแถวไม้พื้นถิ่น” ต่อมามีการสร้าง “ตึกแถวพื้นถิ่น” ซึ่งมีลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐ ซึ่งการก่อรูปขึ้นนั้นมีความสัมพันธ์กับบริบทแวดล้อมทางสังคม และเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการมาถึงของรถไฟในทศวรรษที่ 2440 ซึ่งได้นำพาวัสดุก่อสร้างจำพวกเหล็ก และปูนซีเมนต์มา และยังเป็นจุดเริ่มต้นของการลดบทบาทเส้นทางสัญจรทางน้ำที่มีมาในอดีตลง และเมื่อมีการตัดถนนสายพหลโยธิน และสายเอเชีย และการสร้างเขื่อนวัดมณีชลขันธ์ทำให้บทบาทของการเป็นชุมทางทางน้ำของย่านตลาดล่างเมืองลพบุรีสิ้นสุดลงไปในที่สุด อย่างไรก็ดี ชุมชนตลาดล่างก็ยังคงทำหน้าที่เป็นตลาดแลกเปลี่ยนสินค้าอุปโภค-บริโภคภายในท้องถิ่นอยู่ ซึ่งในช่วงเวลาเดียวกันนี้มีความนิยมในการก่อสร้างอาคารแถวที่เรียกว่าเป็น “ตึกแถวสมัยใหม่ระยะต้น” ที่แสดงนัยยะของความทันสมัยตามแนวความคิดของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ซึ่งต้องการพัฒนาเมืองลพบุรีให้เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ สังคม และการทหารด้วย
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงกาวิจัย "การศึกษาวิเคราะห์คุณค่า ศักยภาพ และแนวทางการเสนอแหล่งมรดกทา... more บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงกาวิจัย "การศึกษาวิเคราะห์คุณค่า ศักยภาพ และแนวทางการเสนอแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมเพื่อขอรับการพิจารณาเป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมเพิ่มเติม" ภายใต้ "แผนงานวิจัยแผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของภูมิภาคด้วยการจัดการแหล่งมรดกโลกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีป" (ผู้อำนวยการแผนการวิจัย: อาจารย์ ดร. เกรียงไกร เกิดศิริ). สนับสนุนทุนวิจัยโดย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร ปี พ.ศ. 2556.
บทความ “พัฒนาการของรูปแบบสถาปตั ยกรรมพื้นถิ่นที่อยู่อาศัยทรงคุณค่าทางวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาใ... more บทความ “พัฒนาการของรูปแบบสถาปตั ยกรรมพื้นถิ่นที่อยู่อาศัยทรงคุณค่าทางวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาในพื้นที่จังหวัดพัทลุง” เป็นส่วนหนึ่งของ “โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดการความรู้เรื่องที่อยู่อาศัยและวิถีการอยู่อาศัยผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่น พื้นที่ภาคใต้” ซึ่งทำการศึกษาชุมชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในละแวกลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาในเขตจังหวัดพัทลุง ซึ่งจากการศึกษาได้สังเคราะห์ข้อมูลสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรือนที่อยู่อาศัยในพื้นที่ศึกษา รวมทั้งสิ้น 58 หลัง ซึ่งพบข้อมูลที่น่าสนใจหลายประเด็น คือ
1. อาชีพของเจ้าของเรือนกรณีศึกษามีทั้งการทำนา การทำสวนผลไม้ การทำสวนยาง การประมง การค้า ซึ่งในอดีตนั้นแต่ละครัวเรือนจะมีอาชีพหลักที่ค่อนข้างชัดเจน และส่งผลกับเรือนให้มีแบบแผนที่ชัดเจน แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันนั้นไม่สามารถจำแนกเรือนออกเป็นอาชีพได้อย่างตรงไปตรงมานัก เนื่องจากแต่ละครัวเรือนนั้นได้ประกอบอาชีพที่หลากหลายแตกต่างไปจากบริบทของอดีตโดยสิ้นเชิง
2. จากการศึกษาพบว่า พัฒนาการของสถาปัตยกรรมเรือนที่อยู่อาศัยสามารถจำแนกเรือนออกได้ตามบริบทแวดล้อมที่ส่งผลต่อพัฒนาการทางสถาปัตยกรรม 2 ประเด็น คือ “สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่อยู่อาศัยที่แสดงความสัมพันธ์กับสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรือนไทยภาคกลาง” และ “รูปแบบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรือนที่อยู่อาศัยที่มีพัฒนาการของรูปแบบภายใต้บริบทแวดล้อมของพื้นที่”
3. สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรือนที่อยู่อาศัยในระยะแรกนั้นได้รับรูปแบบจากสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรือนไทยภาคกลาง แต่เนื่องจากปัจจัยแวดล้อมด้านต่างๆ อาทิ ภูมิประเทศ ภูมิอากาศวัสดุก่อสร้างในท้องถิ่น และวิถีวัฒนธรรม นั้นแตกต่างจากภาคกลางโดยสิ้นเชิง จึงทำให้รูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่รับมานั้นไม่สอดคล้องกับบริบทแวดล้อมของพื้นที่ เมื่อมีการสร้างเรือนใหม่จึงมีการปรับตัวเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทแวดล้อมของพื้นที่ ดังจะเห็นได้ว่าสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรือนที่อยู่อาศัยในพื้นที่จึงมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบมาโดยตลอด ความเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัด คือ รูปทรงหลังคาที่ระยะแรกนั้นใช้ “หลังคาทรงจั่ว” ต่อมาเปลี่ยนเป็น “หลังคาทรงปั้นหยา” ซึ่งเป็นรูปแบบหลังคาที่ป้องกันแดดฝนได้ดีกว่าหลังคาจั่ว เนื่องจากในพื้นที่ศึกษานั้นเป็นพื้นที่มีอากาศแปรปรวน มีลมและฝนรุนแรง และมีทิศทางการสาดไม่แน่นอน นอกจากนี้ จากการศึกษาพบว่าในการก่อสร้างสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรือนที่อยู่อาศัยในอดีตจะให้ความสำคัญ
กับการหันหน้าเรือนไปทางทิศตะวันออก และให้ห้องนอนอยู่ทางด้านทิศใต้ และเปลี่ยนแปลงคติความเชื่อดังกล่าวในภายหลัง เมื่อมีการตั้งบ้านเรือนสัมพันธ์กับเส้นทางสัญจรทั้งทางนํ้า และทางบก
“Development of Vernacular Architecture in Songkhla Lake Basin, Pattalung Province” is a part of “A Study on the Explicit Knowledge and Local Wisdom in the Field of Housing for Knowledge Management in the South of Thailand” which studies the local communities in the area of Songkhla Lake Basin in Pattalung Province, then synthesizes the data on vernacular architecture, comprising 58 houses. Significant
aspects are as follows:
1. The residents are mostly agriculturalists, farmers, fishermen, and merchants. Occupation used to play important role on housing, so houses are different. However, at present, due to changes in social contexts, members of each house work in different fields, so houses are not very different.
2. Social contexts have affected forms of vernacular architecture into two aspects: vernacular architecture related to that in the central region and vernacular architecture developed through changes in social contexts.
3. Firstly, vernacular dwelling house in Pattalung related to that in the central region, but then developed because of factors like geographical aspects, climate, construction materials, culture, and ways of life. Hence, later, dwelling has been
adapted so as to go compatibly with the surroundings. The most clearly noticed example is the roof. That is, there used to be gable, but then it was replaced by hip roof, because of the monsoon. In addition, building orientation has also changed. In
other words, houses which face the east with the bedroom in the south has changed in order to be compatible with circulation routes.
Arundhati Roy. “ดร. อัมเบดการ์ กับการทลายโครงสร้างอันอยุติธรรมของสังคมอินเดีย (ระบบวรรณะ)”, แปลจา... more Arundhati Roy. “ดร. อัมเบดการ์ กับการทลายโครงสร้างอันอยุติธรรมของสังคมอินเดีย (ระบบวรรณะ)”, แปลจาก Annihilation of caste: The Annotated Critical Edition แปลโดย กุลพัชร์ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา ใน ปาจารยสาร ปีที่ 39 ฉบับที่ 1, (มกราคม – เมษายน 2558). กรุงเทพฯ: หจก. ภาพพิมพ์. หน้าที่ 14 - 31
Jimmy Stamp. “แบทแมนและและเมืองกอทแธม : สัญลักษณ์แห่งความล้มเหลวของระบบ – อิทธิพลของสถาปัตยกรรมที... more Jimmy Stamp. “แบทแมนและและเมืองกอทแธม : สัญลักษณ์แห่งความล้มเหลวของระบบ – อิทธิพลของสถาปัตยกรรมที่มีต่อมนุษย์”, แปลจาก Batman, Gotham City, and an Overzealous Architecture Historian With a Working Knowledge of Explosives แปลโดย กุลพัชร์ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา ใน ปาจารยสาร ปีที่ 36, ฉบับที่ 3, กันยายน – พฤศจิกายน 2555. กรุงเทพฯ: หจก. ภาพพิมพ์. หน้าที่ 75 – 81
สไลด์การบรรยายเรื่อง "งานพระเมรุในสมัยรัตนโกสินทร์: กระบวนทัศน์ที่เปลียนแปรในสถาปัตยกรรมเฉพาะกิจเ... more สไลด์การบรรยายเรื่อง "งานพระเมรุในสมัยรัตนโกสินทร์: กระบวนทัศน์ที่เปลียนแปรในสถาปัตยกรรมเฉพาะกิจเนื่องในการเสด็สู่สวรรคาลัย"
เนื่องในโอกาสวันนริศ ประจำปีพ.ศ.2560
ณ หอประชุม มหาวิทยาลัยศิลปากร