Body appreciation around the world: Measurement invariance of the Body Appreciation Scale-2 (BAS-2) across 65 nations, 40 languages, gender identities, and age (original) (raw)
Body Image
Abstract
งานวิจัยนี้มีหัวหน้าโครงการวิจัยคือ Prof. Dr.Viren Swami, Professor of Social Psychology at Anglia Ruskin University, UK. ท่านมีความสนใจและเชี่ยวชาญงานวิจัยเกี่ยวกับ Body image within different cultural and subcultural contexts. ดังนั้นจึงเกิดโปรเจคนี้ขึ้นมาร่วมกับนักวิจัยอื่นๆ อีก 259 คน ในประเทศไทย มีผู้วิจัยร่วมจากทั้ง 4 ภาค ได้แก่ ภาคกลาง อาจารย์จากจุฬา 1 คนและจากธรรมศาสตร์ 2 คน ภาคเหนือ จากมช. 1 คน ภาคใต้จากมอ.1 คน และภาคอีสาน จากมหาสารคาม1คน บทความถูกตีพิมพ์ในวารสาร Body Image (Volume 46, September 2023, Pages 449-466 ; SCOPUS, SJR Q1 in Applied Psychology) https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S1740144523001079?via%3Dihub ''การศึกษาเรื่องความเคารพร่างกายจากทั่วโลก : โดยการตรวจสอบคุณสมบัติทางจิตมิติและความเสถียรของมาตรวัด ความเคารพร่างกายในเวอร์ชั่นที่ 2 (the Body Appreciation Scale-2; BAS-2) ว่าความเคารพร่างกาย จะมีความแตกต่างอย่างไรในแต่ละประเทศและแต่ละภาษา รวมไปถึง ว่ามีความสอดคล้องกันในกลุ่มแต่ละอัตลักษณ์ทางเพศและช่วงอายุหรือไม่อย่างไร จาก 65 ประเทศ 40 ภาษา กลุ่มอัตลักษณ์ทางเพศและช่วงอายุที่แตกต่างกัน" งานวิจัยนี้ใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติที่เรียกว่า "Multi-group confirmatory factor analysis" หรือ "การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงยืนยันในกลุ่มหลายกลุ่ม" โดยเป็นวิธีทางสถิติที่ใช้ทดสอบข้อมูลระหว่างกลุ่มเพื่อทำการเปรียบเทียบและตรวจสอบว่าโมเดลปัจจัยมีความสอดคล้องกันในกลุ่มต่าง ๆ หรือไม่ อย่างไร กลุ่มตัวอย่างมีจำนวนทั้งสิ้น 56,968 คน จาก 65 ประเทศ 40 ภาษา โดยเก็บข้อมูลจากแบบวัด 5 แบบวัด (ความเคารพร่างกาย ความพึงพอใจในชีวิต ความมั่นคงทางการเงิน เขตที่พักอาศัย ดัชนีมวลกาย) และแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล (เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส สัญชาติ) เก็บข้อมูลระหว่างปี 2020-2022 ผลการวิจัยโดยสรุป พบว่า 1. มาตรวัด ความเคารพร่างกายในเวอร์ชั่นที่ 2 (the Body Appreciation Scale-2; BAS-2) นี้มีเพียงองค์ประกอบเดียว หรือ 1 มิติเท่านั้น (unidimensional model) และมีความสามารถในการนำไปใช้งานได้ในขอบเขตหลากหลาย หรือกล่าวได้ว่ามีความเหมาะสมในการใช้งานที่กว้างขวางและหลากหลายสถานการณ์ 2. มีความแตกต่างขนาดใหญ่ในการเคารพร่างกายที่เกิดขึ้นเมื่อเปรียบเทียบระหว่างประเทศต่างๆกับ UK และผู้ที่ใช้ภาษาต่างๆกับภาษาอังกฤษ 3. มีความแตกต่างขนาดเล็กถึงน้อยมากในการเคารพร่างกายที่เกิดขึ้นเมื่อเปรียบเทียบระหว่าง กลุ่มอัตลักษณ์ทางเพศและช่วงอายุ 4. การเคารพร่างกายที่มากขึ้นเชื่อมโยงอย่างมีนัยสำคัญกับความพึงพอใจในชีวิตที่สูงขึ้น การเป็นโสด (เมื่อเปรียบเทียบกับคนที่สมรสแล้วหรือมีความสัมพันธ์ที่เข้มแข็ง) และพักอาศัยในเขตภูมิศาสตร์ที่ใกล้ชนบทมากขึ้น (เมื่อเปรียบเทียบกับการอยู่ในเขตเมือง) 5. ในกลุ่มประเทศบางส่วนที่มีข้อมูลระดับประเทศที่สามารถนำมาวิเคราะห์ได้ พบว่า การเคารพร่างกายที่มากขึ้นเชื่อมโยงอย่างมีนัยสำคัญกับระยะห่างทางวัฒนธรรมที่มากขึ้นจากสหรัฐอเมริกาและความไม่เสมอภาคของรายได้ที่มากขึ้น 6. ข้อค้นพบในงานวิจัยนี้ เสนอแนะว่า มาตรวัดความเคารพร่างกายในเวอร์ชั่นที่ 2 (the Body Appreciation Scale-2; BAS-2) มีความน่าจะเป็นที่จะเก็บรวบรวมความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างกายที่ใกล้เคียงกับแนวความคิดเชิงสากลเกี่ยวกับแนวความคิดเรื่องการเคารพร่างกาย ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้เกิดการทำวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความเคารพร่างกายเพื่อเปรียบเทียบข้ามวัฒนธรรมได้มากยิ่งขึ้นในอนาคต
Shulamit Geller hasn't uploaded this paper.
Let Shulamit know you want this paper to be uploaded.
Ask for this paper to be uploaded.