แม่และแม่บ้านสมัยใหม่: ผู้หญิงดี, ความเป็นไทย, และวิทยาศาสตร์ ทศวรรษ 2460–2490 (original) (raw)
2022, วารสารประวัติศาสตร์ ธรรมศาสตร์
แม่และแม่บ้านคือเพศสภาพประเภทหนึ่งที่กอปรขึ้นพร้อมกับการเข้าสู่สมัยใหม่ของไทยในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 25 บทความนี้จะอภิปรายให้เห็นว่าแม่และแม่บ้านเริ่มถูกนิยามขึ้นบนสนามของการจำแนก “ผู้หญิงดี” และ “ผู้หญิงไม่ดี” ออกจากกันในบริบทยุคอาณานิคม ความหมายของแม่และแม่บ้านนั้นยึดโยงอยู่กับครอบครัวที่ถูกพิจารณาว่าเป็นหน่วยพื้นฐานของชาติ, พุทธศาสนาที่เป็นหนึ่งในเสาหลักของความเป็นไทย, และวิทยาศาสตร์ที่เป็นเครื่องหมายของความเป็นสมัยใหม่ หลังการปฏิวัติ 2475 ต่อมาจนเริ่มเข้าสู่ยุคสงครามเย็น แม่และแม่บ้านยิ่งได้รับการส่งเสริมโดยรัฐที่กำลังรณรงค์วัฒนธรรมฝ่ายหญิง, ริเริ่มมหกรรมวันแม่, ปรับปรุงการศึกษา, และขยายงานสาธารณสุข [The mother-and-housewife emerged as a gender construct in the first half of the 20th century. Drawing upon archival and published sources, this article argues that the mother-and-housewife was initially defined in the discursive field of differentiation between the “good woman” and the “bad woman” during the colonial era. Its meanings were shaped with reference to the family as a basic unit of the nation, Buddhism as one of the pillars of Thainess, and science as a symbol of modernity. From the Revolution of 1932 to the early Cold War, the mother-and-housewife model was promoted by the state as it was campaigning for women’s culture, initiating a National Mother’s Fair, and improving education and public health for women.]