เจาะสำรวจดินแบบฉีดล้าง Wash Boring – เดนิช ซอยล์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (original) (raw)
การเจาะสำรวจดินโดยวิธีการฉีดล้าง (Wash Boring) ด้วยเครื่องเจาะสำรวจดินแบบ Motorized Drilling Rig เป็นเครื่องมือและอุปกรณ์ที่แยกชิ้นส่วน ตอบโจทย์ด้านความสะดวกสบายต่อการขนย้ายเข้าจุดเจาะสำรวจดินได้แบบทันใจ แม้ว่าพื้นที่นั้นจะเป็นพื้นที่ทุรกันดาร พื้นที่ป่ารกร้าง ก็ยังสามารถขนย้ายเข้าไปได้ อีกทั้งยังเป็นที่ชื่นชอบของเหล่าบรรดานักเจาะสำรวจดิน ว่ากันด้วยเรื่องของความง่าย และประหยัดเวลาในการติดตั้ง ทำให้งานเจาะสำรวจดินเสร็จเร็วขึ้น มองรูปลักษณ์ภายนอกเครื่องเจาะสำรวจดินแบบ Motorized Drilling Rig สภาพเป็นโครงเหล็กสามขา (Tripod) ประกอบด้วย เครื่องกว้านขนาดเล็ก (Motor และ Catch) และปั๊มน้ำ แรงดันน้ำหรือพลังน้ำ ฉีดเจาะทำลายโครงสร้างดินเพื่อให้เกิดหลุม ดินด้านล่างจะถูกรบกวนน้อยที่สุด วิธีการเจาะสำรวจดินแบบฉีดล้าง (Wash Boring) จะเริ่มด้วย การเจาะดินโดยการสูบน้ำผ่านก้านเจาะลงไปที่หัวฉีด เป็นลักษณะการฉีดอัดน้ำผ่านก้านเจาะลงไปที่ก้นหลุมเจาะด้วยปั๊มน้ำแรงสูงและเป่าออกมาที่หัวเจาะ ในขณะที่หัวเจาะ (Chopping Bit) กระแทกหรือหมุนบดดินให้แตกย่อยออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ ทำให้น้ำสามารถพัดพาเอาดินขึ้นมาตามผนังหลุมเจาะสู่ระดับผิวดิน และไหลลงบ่อตกตะกอนข้างหลุมเจาะ เพื่อเป็นการกรองดินเม็ดหยาบ (Coarse Grain Soil) แล้วสูบน้ำที่ใสกลับไปใช้ได้อีก ถ้าพิจารณาเบื้องต้นแล้วว่า เป็นการเจาะสำรวจดินในชั้นดินอ่อน ก็ต้องมีปลอกกันดินพัง (Casing) ในรูปแบบวิธีการต่อเป็นท่อน ๆ และเมื่อเจาะถึงชั้นทรายจะไหลเข้ามาในหลุมจึงจำเป็นต้องผสมสารเบนโทไนต์ (Bentonite Slurry) ลงไปกับน้ำ เนื่องจากเบนโทไนต์คือแร่ชนิด (Montmollionite) ความสามารถในการดูดน้ำดีและพองตัวได้มาก ทำให้ความหนาแน่นของน้ำภายในหลุมมากกว่าน้ำในชั้นทราย น้ำจึงไม่สามารถไหลเข้ามาในหลุม ความเข้มข้นของสารละลายเบนโทไนท์ที่ใช้ปกติจะควบคุมให้มีความหนาแน่น 1.09-1.15 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร สารละลายนี้จะทำหน้าที่นำพาเศษกรวดทรายที่ลอยอยู่ในหลุมเจาะขึ้นมาปากหลุมเจาะได้มากขึ้น อีกทั้งยังมีสภาพที่สามารถเกาะเป็นชั้นบางเหนียวเคลือบผนังหลุมเจาะ ช่วยเพิ่มเสถียรภาพของผนังหลุมเจาะในชั้นดินทรายและกรวด ทำให้ไม่ต้องตอกท่อกรุ หรือ ปลอกกันดินพัง (Casing) ไปตลอดความลึกของหลุมเจาะ และแน่นอนว่ายังสามารถป้องกันการพังทลายของหลุมเจาะได้ การเจาะสำรวจดินแบบฉีดล้าง (Wash Boring) เหมาะสมกับสิ่งปลูกสร้างที่มีโครงสร้างขนาดเล็ก ถึงระดับปานกลาง ขีดความสามารถที่เหมาะสมกับงานเจาะสำรวจดินแบบฉีดล้าง (Wash Boring) ด้วยเครื่องเจาะสำรวจดินแบบ Motorized Drilling Rig ก็จะอยู่ในช่วงความลึกประมาณ 30-40 เมตร ความลึกระดับนี้ก็สามารถให้ข้อมูลที่เพียงพอต่อการออกแบบฐานรากที่ต้องรับน้ำหนักที่ถ่ายน้ำหนักลงสู่ชั้นดิน เหนือระดับสามารถเจาะสำรวจดินกรุงเทพฯ เพื่อก่อสร้างอาคาร ในระดับช่วงความลึกของหลุมเจาะ 30-80 เมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของอาคาร
การเจาะสำรวจดิน จะเริ่มด้วยการจัดเตรียมพื้นที่หลุมเจาะ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางอย่างน้อย 10 เซนติเมตร ตามแต่พิจารณาเลือกวิธีการเจาะสำรวจดินให้เหมาะสมกับพื้นที่ทำเลที่ตั้งโครงการก่อสร้าง ไม่ว่าจะเป็น การใช้สว่าน (Auger) หรือ เจาะดินแบบฉีดล้าง (Wash Boring) ด้วยเครื่อง Motorized Drilling Rig โดยการเจาะดินแบบฉีดล้าง ตลอดช่วงความลึกของหลุมเจาะ ในชั้นดินเหนียวอ่อน หลุมเจาะจะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 นิ้ว และลดลงเหลือ 3 นิ้ว ในชั้นดินแข็ง ในระหว่างเจาะดินได้ฝั่งท่อกรุหรือปลอกกันดินพัง (Casing) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้ว ลงไปประมาณ 2 เมตร เพื่อป้องกันการพังทลายของหลุม ต่อด้วยการใช้ Bentonite Slurry ช่วยกันดินพังในชั้นทราย หรือชั้นดินที่ระดับความลึก ถึงลึกมาก ทำการเจาะดินถึงชั้นดินแข็งที่มีค่า SPT-N มากกว่า 50 ครั้ง/ฟุต หนาไม่น้อยกว่า 4 เมตร ความแตกต่างกรรมวิธีการเก็บตัวอย่างดิน ขึ้นอยู่กับลัษณะของชั้นดินที่พบ ถ้าเป็นลักษณะชั้นดินที่เป็นชั้นดินเหนียวอ่อนถึงชั้นดินเหนียวแข็งปานกลาง (MEDIUM CLAY) เราจะต้องเริ่มเก็บตัวอย่างดินคงสภาพ (Undisturbed Sample) ทุก ๆ ระยะไม่เกิน 1.50 เมตร ในชั้นเดียวกันด้วยกระบอกเก็บตัวอย่างผนังบาง (Thin Wall Tube) ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 นิ้ว ยาว 0.50 เซนติเมตร และกระบอกที่เก็บตัวอย่างดินขึ้นมาจากหลุมเจาะ ต้องเคลือบด้วยขี้ผึ้งที่ปลายกระบอกทั้ง 2 ด้าน เพื่อป้องกันการระเหยของความชื้นในดิน เมื่อเจาะถึงชั้นดินแข็ง หรือชั้นทราย ก็จะเป็นขั้นตอนของการทดอบดิน Standard Penetration Test (SPT) ด้วยกระบอกผ่า (Split Barrel) ทุก ๆ ระยะไม่เกิน 1.50 เมตร ในชั้นเดียวกัน จากนั้นก็นำตัวอย่างดินในกระบอกผ่าสู่ห้องปฏิบัติการต่อไป ตามช่วงความลึกของหลุมเจาะ เมื่อพบเจอชั้นดินแข็ง หรือ ชั้นทรายแน่น ที่ทำการทดสอบดิน SPT สูงกว่า 50 ครั้ง/ฟุต หนาไม่น้อยกว่า 4 เมตร เป็นลักษณะชั้นดินที่มีความต่อเนื่องกันจำนวน 3 ชั้น หรือพบชั้นดินดานแข็งมาก-ชั้นหิน แล้วแต่กรณี เจ้าหน้าที่ควบคุมงานเจาะสำรวจดินจะเป็นผู้ดูแล ทั้งกำหนดงานทดสอบดินในสนาม เพื่อรักษาคุณภาพงานเจาะสำรวจดินให้เหมาะสมกับสิ่งปลูกสร้าง พร้อมนำส่งตัวอย่างดินไปทดสอบดินในห้องปฏิบัติการอย่างทะนุถนอม ส่วนการจดบันทึก เราก็จะมีการบันทึกหมายเลขตัวอย่าง ความลึก ชนิดของดิน และสี ด้วยสายตา (Visual Classification) วันที่เก็บตัวอย่างดิน ชื่อหลุมเจาะ ชื่อโครงการก่อสร้าง สถานที่หรือทำเลที่ตั้งโครงการ ที่ทำการเจาะทดสอบดิน จะถูกบันทึกลงกระดาษผนึกกับกระบอกบางทุกกระบอก ก่อนส่งไปทดสอบดินในห้องปฏิบัติการ ระดับน้ำใต้ดินในหลุมเจาะ วัดได้หลังจากที่ดำเนินการเจาะสำรวจดินเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ประมาณ 24 ชั่วโมง และเกิ่นเริ่มลงมือเจาะดินในแต่ละวันสำหรับหลุมเจาะที่ค้างอยู่
เราให้ความสำคัญตั้งแต่เริ่มงานเจาะสำรวจดิน Soil Boring Test โดยวิธีการฉีดล้าง (Wash Boring) ด้วยเครื่องเจาะสำรวจดินแบบ Motorized Drilling Rig งานเก็บตัวอย่างดินในสนาม Soil Sampling รวมถึง งานบริการทดสอบดินในสนามอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น งานทดสอบกำลังรับแรงเฉือนแบบไม่ระบายน้ำ Field Vane Shear Test งานทดสอบความหนาแน่นของดิน Field Density Test งานทดสอบการซึมผ่านของน้ำในดิน Field Permeability Test เราพร้อมออกเจาะสำรวจดินให้กับลูกค้าทุกท่าน ทุกสภาพพิ้นที่ทั่วถิ่นแดนไทย