Surachet Sukhlabhkich | Thammasat University (original) (raw)

Books by Surachet Sukhlabhkich

Research paper thumbnail of ผัวเดียวเมียเดียว: อาณานิคมครอบครัวในสยาม

Articles by Surachet Sukhlabhkich

Research paper thumbnail of The King as Father: Contesting Absolutism and its Gender Regime  in Modern Thai Politics

Rian Thai: International Journal of Thai Studies (published on SSRN), 2024

Political metaphors are usually treated as trivial despite its significance to Thai politics. Thi... more Political metaphors are usually treated as trivial despite its significance to Thai politics. This article examines the metaphor of the king-as-father in the absolutist era through historical interpretation rather than language theory, with a focus on three connected themes: gender, emotion, and political contestation. From the end of the 19th century, the metaphor of the king-as-father was used by the Thai absolute monarchy as the gender regime to sustain its own righteousness by insisting that, on the one hand, the king governed his people as a father would govern his children and that, on the other hand, the people as children were loyal to the king as their father. This analogy emphasized a gender hierarchy, with its familial emotion, in which the father was the head of the family and governed his children with love and intimacy. Around the mid-1910s, however, the absolutist regime was severely criticized that it was unable to perform fatherly duties perfectly, especially by middle class writers. With the Siamese Revolution of 1932, the father-children relationship in Thai politics was replaced by the fraternal relationship. After the Second World War, the metaphor of the king-as-father was revived upon the return of the royalists to Thai politics.

Research paper thumbnail of แม่และแม่บ้านสมัยใหม่: ผู้หญิงดี, ความเป็นไทย, และวิทยาศาสตร์ ทศวรรษ 2460–2490

วารสารประวัติศาสตร์ ธรรมศาสตร์, 2022

แม่และแม่บ้านคือเพศสภาพประเภทหนึ่งที่กอปรขึ้นพร้อมกับการเข้าสู่สมัยใหม่ของไทยในช่วงครึ่งหลังของศต... more แม่และแม่บ้านคือเพศสภาพประเภทหนึ่งที่กอปรขึ้นพร้อมกับการเข้าสู่สมัยใหม่ของไทยในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 25 บทความนี้จะอภิปรายให้เห็นว่าแม่และแม่บ้านเริ่มถูกนิยามขึ้นบนสนามของการจำแนก “ผู้หญิงดี” และ “ผู้หญิงไม่ดี” ออกจากกันในบริบทยุคอาณานิคม ความหมายของแม่และแม่บ้านนั้นยึดโยงอยู่กับครอบครัวที่ถูกพิจารณาว่าเป็นหน่วยพื้นฐานของชาติ, พุทธศาสนาที่เป็นหนึ่งในเสาหลักของความเป็นไทย, และวิทยาศาสตร์ที่เป็นเครื่องหมายของความเป็นสมัยใหม่ หลังการปฏิวัติ 2475 ต่อมาจนเริ่มเข้าสู่ยุคสงครามเย็น แม่และแม่บ้านยิ่งได้รับการส่งเสริมโดยรัฐที่กำลังรณรงค์วัฒนธรรมฝ่ายหญิง, ริเริ่มมหกรรมวันแม่, ปรับปรุงการศึกษา, และขยายงานสาธารณสุข
[The mother-and-housewife emerged as a gender construct in the first half of the 20th century. Drawing upon archival and published sources, this article argues that the mother-and-housewife was initially defined in the discursive field of differentiation between the “good woman” and the “bad woman” during the colonial era. Its meanings were shaped with reference to the family as a basic unit of the nation, Buddhism as one of the pillars of Thainess, and science as a symbol of modernity. From the Revolution of 1932 to the early Cold War, the mother-and-housewife model was promoted by the state as it was campaigning for women’s culture, initiating a National Mother’s Fair, and improving education and public health for women.]

Research paper thumbnail of ความเป็นมาทางการเมืองของชื่อพระราชทาน “ศรีนครินทรวิโรฒ” (ปี 2513–2517)

วารสารประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2015

“ศรีนครินทรวิโรฒ” เป็นชื่อพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ให้กับมหาวิทยาลัยท... more “ศรีนครินทรวิโรฒ” เป็นชื่อพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ให้กับมหาวิทยาลัยที่ยกฐานะมาจากวิทยาลัยวิชาการศึกษาในปี 2517 วัตถุประสงค์ของบทความนี้คือการศึกษาประวัติศาสตร์การเมืองของชื่อดังกล่าว และชี้ว่าการขอพระราชทานชื่อนั้นเกิดขึ้นพร้อมกับกระบวนการยกฐานะวิทยาลัยวิชาการศึกษา ในบทความนี้ จะเสนอว่าเงื่อนไขที่นำไปสู่การมีชื่อพระราชทานนั้นเนื่องมาจาก (1) การเมืองทางการศึกษาของการยกฐานะวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัย, (2) การเมืองวัฒนธรรมของนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยตั้งแต่ต้นทศวรรษ 2500 ถึงเหตุการณ์เรียกร้องประชาธิปไตย 14 ตุลา 2516, และ (3) พระราชกรณียกิจที่ใกล้ชิดกับนิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในช่วงทศวรรษ 2500 ถึงกลางทศวรรษ 2510 นั่นคือการเสด็จฯ เยี่ยมเป็นการส่วนพระองค์ และทรงดนตรีที่จุฬาลงกรณ์, ธรรมศาสตร์, เกษตรศาสตร์, ประสานมิตร, และมหิดล ตามลำดับ นอกจากนี้ บทความยังตั้งใจที่จะเปิดทางไปสู่การเขียนชีวประวัติแบบประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยด้วย
[“Srinakharinwirot” is the royally bestowed name by King Bhumibol Adulyadej for the university that was upgraded from the College of Education in 1974. The aim of this article is to study the political history of that name and to point out that requesting such a name came together through the process of upgrading the college. In this article, I propose that the conditions which lead the college receiving the royally bestowed name were due to: first, educational politics involved in upgrading the college to university level; second, cultural politics of university students from the late 1950s up until democracy uprising of Oct 14th, 1973; and third, royal activities which closely associated with undergraduate students, such that royals privately visited and played music at Chulalongkorn, Thammasat, Kasetsart, Prasarn Mitr and Mahidol, respectively, during the 1960s to early 1970s. Furthermore, this article also intends to pave the way to writing a historical biography of Srinakharinwirot University.]

Research paper thumbnail of กว่าจะเป็น “ผัวเดียวเมียเดียว”: สังเขปประวัติความเป็นมาของกฎหมายครอบครัวสมัยใหม่ในสยาม พ.ศ. 2410–2478

Research paper thumbnail of “ผัวเดียวเมียเดียวแห่งชาติ” : ครอบครัวกับโครงการรณรงค์ทางวัฒนธรรมสมัยสร้างชาติของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม

Theses by Surachet Sukhlabhkich

Research paper thumbnail of การเมืองเรื่อง “ครอบครัว” ในประเทศไทยจากสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ถึงยุคพัฒนา (พ.ศ. 2456–2519)

หน่วยความสัมพันธ์ที่เรียกว่า “ครอบครัว” ถูกนิยามขึ้นอย่างเป็นทางการและกลายเป็นองค์ประกอบพื้นฐานขอ... more หน่วยความสัมพันธ์ที่เรียกว่า “ครอบครัว” ถูกนิยามขึ้นอย่างเป็นทางการและกลายเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของรัฐไทยนับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบัญญัติกฎหมายนามสกุลขึ้นใน พ.ศ. 2456 วิทยานิพนธ์นี้เลือกศึกษาประวัติศาสตร์การเมืองเรื่องครอบครัว ซึ่งเป็นประเด็นที่งานศึกษาก่อนหน้านี้ให้ความสนใจไม่มากนัก โดยมุ่งเน้นไปที่กระบวนการก่อรูปของรัฐในทางเพศสภาพนับตั้งแต่การนิยามครอบครัวขึ้นในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์เรื่อยมาจนถึงการแก้ไขกฎหมายครอบครัวในยุคพัฒนา ประเด็นสาคัญที่วิทยานิพนธ์มุ่งพิจารณา ได้แก่ ครอบครัวสัมพันธ์กับการเมืองไทยอย่างไร รัฐพยายามกำหนดปฏิสัมพันธ์ในครอบครัวอย่างไร และกฎหมายครอบครัวถูกต่อรองอย่างไร โดยสำรวจจากโครงการต่างๆ ของรัฐ เช่น การอุปมากษัตริย์ให้เป็นพ่อ การนิยามครอบครัวให้เป็นหน่วยย่อยของชาติ การตราและแก้ไขกฎหมายครอบครัว การสร้างชาติในทางวัฒนธรรม การสงเคราะห์ครอบครัว การร่างรัฐธรรมนูญ กิจการต่างประเทศ และการพัฒนาครอบครัว วิทยานิพนธ์นี้เสนอว่าครอบครัวคือศูนย์กลางหนึ่งของการเมืองไทยสมัยใหม่ สำหรับสมบูรณาญาสิทธิราชย์ การเมืองเรื่องครอบครัวยึดโยงอยู่กับการอุปมากษัตริย์ให้เป็นพ่อผู้ปกครองชาติ ขณะที่การเมืองเรื่องครอบครัวหลังการปฏิวัติ พ.ศ. 2475 ยืนพื้นอยู่ที่การรณรงค์สร้างชาติโดยเฉพาะในทางวัฒนธรรมด้วยการมอบบทบาทให้ผู้ชายเป็นหัวหน้าครอบครัวและให้ผู้หญิงเป็นเมียและแม่ ต่อมาในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง การเมืองเรื่องครอบครัวยังเคลื่อนออกไปสัมพันธ์กับการแสวงหาสถานะของไทยในเวทีนานาชาติด้วย อย่างไรก็ดี รัฐไม่ได้ดำรงอยู่อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดและถูกท้าทายจากสังคมในยุคพัฒนาที่กระแสสิทธิสตรีกาลังขยายตัวอย่างมาก นำไปสู่การแก้ไขเคลื่อนไหวเรียกร้องให้แก้ไขกฎหมายครอบครัวเพื่อลดอำนาจในครอบครัวของผู้ชายลงให้สอดคล้องกับหลักสากลของความเสมอภาคทางเพศ ซึ่งประสบผลสำเร็จใน พ.ศ. 2519
[The relationship unit known as “the family” was officially defined and became a basic building block of the Thai state when King Vajiravudh Rama VI promulgated the surname act in 1913. This dissertation has chosen to investigate the politics of “the family,” which had not received much interest from previous studies. This study focuses on the formation of the state in gender aspects, starting from the first official definition of “the family” during the absolutist era up to the amendment of the family law during the development era. This dissertation investigates important issues including how the family related to Thai politics, how the state attempted to regulate familial interactions, and how the family law was negotiated. This investigation is conducted through a thorough survey of various state projects, such as, the reference of the monarch as father, the definition of the family as a subsection of the nation, the promulgation and amendments of the family law, state building through the culture of aiding the family, the drafting of constitutions, foreign affairs, and family development projects. This dissertation proposes that the family was one of the centers of modern Thai politics. For the absolutist state, the family politics was tied to the reference of the monarch as father of the nation, while the post-1932 revolution family politics was related to the nation building campaign, especially in the cultural sphere, by assigning men as leaders of the families and women as wives and mothers. Later, in the post-Second World War, the family politics expanded to relate of Thailand’s quest for status in the international arena. However, the state did not exist in totality and was constantly challenged by the developing society where women’s rights movements were gathering momentum. This led to increasing demands for the amendment of the family law to decrease men’s authority in the family according to the universal value of gender equality. The amendments were successful in 1976.]

Research paper thumbnail of “ผัวเดียวเมียเดียว” ในสังคมไทยสมัยใหม่จากทศวรรษ 2410 ถึงทศวรรษ 2480

ตั้งแต่ทศวรรษ 2410 ประเด็น “ผัวเดียวเมียเดียว” เริ่มสำคัญขึ้นในบริบทที่สยามเร่งสร้างภาวะสมัยใหม่ข... more ตั้งแต่ทศวรรษ 2410 ประเด็น “ผัวเดียวเมียเดียว” เริ่มสำคัญขึ้นในบริบทที่สยามเร่งสร้างภาวะสมัยใหม่ขึ้นมา เพื่อรับมือและตอบโต้การท้าทายจากจักรวรรดินิยมตะวันตก ในที่สุด นำไปสู่การประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ครอบครัว ซึ่งรับรองหลักการ “ผัวเดียวเมียเดียว” ใน พ.ศ. 2478 ตามมาด้วยการสร้างวัฒนธรรม “ผัวเดียวเมียเดียว” ในทศวรรษ 2480 วิทยานิพนธ์นี้ศึกษาการกำเนิดขึ้นมาของ “ผัวเดียวเมียเดียว” ผ่านวิวาทะในกระบวนการร่างกฎหมายครอบครัวสมัยใหม่และในสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ซึ่งถกเถียงหาทางพลิกแพลงมโนทัศน์ “ผัวเดียวเมียเดียว” ในฐานะตัวแทนภาวะสมัยใหม่แบบตะวันตกเข้าสู่สยามโดยที่ไม่ให้ขัดกับขนบครอบครัวเดิมของสยามที่เป็น “ผัวเดียวหลายเมีย”
วิทยานิพนธ์นี้อธิบายว่ามี 3 ปัจจัยที่เป็นเงื่อนไขกำหนดความเป็นไปได้ของ “ผัวเดียวเมียเดียว” ในสังคมไทย ปัจจัยแรก กรอบภูมิปัญญาในการสร้างภาวะสมัยใหม่ภายใต้การปะทะกับความเป็นตะวันตก ปัจจัยถัดมา การเผชิญหน้ากับจักรวรรดินิยมตะวันตกที่บังคับให้สยามต้องมีกฎหมายครอบครัวสมัยใหม่ตามบรรทัดฐานแบบตะวันตก ปัจจัยสุดท้าย การกำเนิดขึ้นมาของชนชั้นกลางที่นิยม “ผัวเดียวเมียเดียว” และมีแนวโน้มต่อต้านชนชั้นนำ ในที่สุด แม้หลักการ “ผัวเดียวเมียเดียว” จะถูกผนวกลงเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายครอบครัวสมัยใหม่ แต่ไม่ได้แปลว่าวิถีแบบ “ผัวเดียวหลายเมีย” จะถูกปฏิเสธโดยสิ้นเชิง แสดงนัยสำคัญว่าขนบครอบครัวแบบเดิมได้ถูกแปลงให้เข้ากับภาวะสมัยใหม่แล้ว
[From the 1870s-1930s, the concept of monogamy started to gain importance in the context of Siam’s rapid modernization in response to Western imperialist threats. Ultimately, this led to the promulgation, in 1935, of the Civil and Commercial Code, book V (family), which endorses monogamy, resulting in the establishment of monogamous culture in the 1940s. This thesis investigates the origins of the concept of monogamy through debates in the drafting process of the modern family law and in various media channels. These debates sought to transform monogamy into a symbol of Western modernity that could be adopted in Siam in a way that would not contradict the traditional Siamese family culture, which was largely polygamous.
This thesis proposes that there are three major factors that made monogamy possible in Thai society. Firstly, it was due to the intellectual framework that was guiding Siam’s modernization in the midst of Western influences. Secondly, the encounter with Western imperialist threats forced Siam to establish a modern family legal code according to Western standards. Finally, monogamy was supported by the emergence of a middle class population that tended to oppose the largely polygamous elite. Ultimately, although monogamy came to be an integral part of the modern family law, the polygamous lifestyle has not been completely rejected. In other words, the traditional family had been transformed to better comply with the modern way of life.]

Textbooks by Surachet Sukhlabhkich

Research paper thumbnail of สังคมและวัฒนธรรมไทย พ.ศ. 2398–2500

เอกสารการสอนชุดวิชาประวัติศาสตร์ไทย 10201 หน่วยที่ 8–15 (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 4), 2024

Translations by Surachet Sukhlabhkich

Research paper thumbnail of กรมหลวงโยธาเทพ: พระราชธิดาสมเด็จพระนารายณ์กับเล่ห์เพทุบายในราชสำนักอยุธยา

วารสารประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2017

กรมหลวงโยธาเทพทรงเป็นหนึ่งในราชนารีจำนวนน้อยที่มีความสำคัญอยู่ในหน้าประวัติศาสตร์อยุธยา พระนางดำร... more กรมหลวงโยธาเทพทรงเป็นหนึ่งในราชนารีจำนวนน้อยที่มีความสำคัญอยู่ในหน้าประวัติศาสตร์อยุธยา พระนางดำรงพระชนม์อยู่ในช่วงสี่รัชสมัยในฐานะพระราชธิดา, พระอัครมเหสี, และพระราชชนนี ในพงศาวดารไทยมีการบรรยายถึงพระนางอยู่น้อยนิด อย่างไรก็ดี ชาวฝรั่งเศสและดัตช์ที่พำนักอยู่กลับตรึงใจต่อพระนาง แม้พวกเขาจะไม่เคยพบพระนางตรงๆ พวกเขาก็ได้บันทึกข้อมูลอันไม่ปะติดปะต่อเอาไว้ แม้ข้อมูลจะกระจัดกระจายและบางเบา มันก็แสดงให้เห็นได้ว่าสตรีชั้นสูงของอยุธยาประสบกับข้อจำกัดของสถานะของพวกเธอและยังต้องแสวงหาความเป็นไปได้ที่จะเข้าถึงโภคทรัพย์ ความรู้ และอำนาจอย่างไร
[Princess Yothathep is one of very few royal women who made a mark in the history of Ayutthaya. She lived across four reigns as royal daughter, queen, and royal mother. In the Thai chronicles, the account of her is minimal. French and Dutch residents in Siam, however, were fascinated by her. Although they never saw her in person, they recorded fragments of information. Though the resulting record is fragmentary and fragile, it shows how the elite women of Ayutthaya suff ered the limitations of their position and yet explored the possibilities of their access to wealth, knowledge, and power.]

Online Articles by Surachet Sukhlabhkich

Research paper thumbnail of จดหมาย “ถึงลูกชายเล็ก” และประวัติศาสตร์พ่อ

This site uses cookies. By continuing to browse the site you are agreeing to our use of cookies.

Research paper thumbnail of แถลงการณ์ของคณะราษฎร

ฐานข้อมูลการเมืองการปกครองสถาบันพระปกเกล้า, 2017

Research paper thumbnail of รัชทายาท

ฐานข้อมูลการเมืองการปกครองสถาบันพระปกเกล้า, 2018

Research paper thumbnail of รัฐมนตรีสภา

ฐานข้อมูลการเมืองการปกครองสถาบันพระปกเกล้า, 2018

Research paper thumbnail of กรมมหาดเล็ก

ฐานข้อมูลการเมืองการปกครองสถาบันพระปกเกล้า, 2018

Research paper thumbnail of สมบูรณาญาสิทธิราชย์

ฐานข้อมูลการเมืองการปกครองสถาบันพระปกเกล้า, 2018

Unpublished Papers by Surachet Sukhlabhkich

Research paper thumbnail of ผู้หญิง(ดี)สมัยใหม่กับแม่และแม่บ้านแบบวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย (ทศวรรษ 2460–2490)

Research paper thumbnail of The King as Father: Contesting Absolutism and its Gender Regime  in Modern Thai Politics

Rian Thai: International Journal of Thai Studies (published on SSRN), 2024

Political metaphors are usually treated as trivial despite its significance to Thai politics. Thi... more Political metaphors are usually treated as trivial despite its significance to Thai politics. This article examines the metaphor of the king-as-father in the absolutist era through historical interpretation rather than language theory, with a focus on three connected themes: gender, emotion, and political contestation. From the end of the 19th century, the metaphor of the king-as-father was used by the Thai absolute monarchy as the gender regime to sustain its own righteousness by insisting that, on the one hand, the king governed his people as a father would govern his children and that, on the other hand, the people as children were loyal to the king as their father. This analogy emphasized a gender hierarchy, with its familial emotion, in which the father was the head of the family and governed his children with love and intimacy. Around the mid-1910s, however, the absolutist regime was severely criticized that it was unable to perform fatherly duties perfectly, especially by middle class writers. With the Siamese Revolution of 1932, the father-children relationship in Thai politics was replaced by the fraternal relationship. After the Second World War, the metaphor of the king-as-father was revived upon the return of the royalists to Thai politics.

Research paper thumbnail of แม่และแม่บ้านสมัยใหม่: ผู้หญิงดี, ความเป็นไทย, และวิทยาศาสตร์ ทศวรรษ 2460–2490

วารสารประวัติศาสตร์ ธรรมศาสตร์, 2022

แม่และแม่บ้านคือเพศสภาพประเภทหนึ่งที่กอปรขึ้นพร้อมกับการเข้าสู่สมัยใหม่ของไทยในช่วงครึ่งหลังของศต... more แม่และแม่บ้านคือเพศสภาพประเภทหนึ่งที่กอปรขึ้นพร้อมกับการเข้าสู่สมัยใหม่ของไทยในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 25 บทความนี้จะอภิปรายให้เห็นว่าแม่และแม่บ้านเริ่มถูกนิยามขึ้นบนสนามของการจำแนก “ผู้หญิงดี” และ “ผู้หญิงไม่ดี” ออกจากกันในบริบทยุคอาณานิคม ความหมายของแม่และแม่บ้านนั้นยึดโยงอยู่กับครอบครัวที่ถูกพิจารณาว่าเป็นหน่วยพื้นฐานของชาติ, พุทธศาสนาที่เป็นหนึ่งในเสาหลักของความเป็นไทย, และวิทยาศาสตร์ที่เป็นเครื่องหมายของความเป็นสมัยใหม่ หลังการปฏิวัติ 2475 ต่อมาจนเริ่มเข้าสู่ยุคสงครามเย็น แม่และแม่บ้านยิ่งได้รับการส่งเสริมโดยรัฐที่กำลังรณรงค์วัฒนธรรมฝ่ายหญิง, ริเริ่มมหกรรมวันแม่, ปรับปรุงการศึกษา, และขยายงานสาธารณสุข
[The mother-and-housewife emerged as a gender construct in the first half of the 20th century. Drawing upon archival and published sources, this article argues that the mother-and-housewife was initially defined in the discursive field of differentiation between the “good woman” and the “bad woman” during the colonial era. Its meanings were shaped with reference to the family as a basic unit of the nation, Buddhism as one of the pillars of Thainess, and science as a symbol of modernity. From the Revolution of 1932 to the early Cold War, the mother-and-housewife model was promoted by the state as it was campaigning for women’s culture, initiating a National Mother’s Fair, and improving education and public health for women.]

Research paper thumbnail of ความเป็นมาทางการเมืองของชื่อพระราชทาน “ศรีนครินทรวิโรฒ” (ปี 2513–2517)

วารสารประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2015

“ศรีนครินทรวิโรฒ” เป็นชื่อพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ให้กับมหาวิทยาลัยท... more “ศรีนครินทรวิโรฒ” เป็นชื่อพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ให้กับมหาวิทยาลัยที่ยกฐานะมาจากวิทยาลัยวิชาการศึกษาในปี 2517 วัตถุประสงค์ของบทความนี้คือการศึกษาประวัติศาสตร์การเมืองของชื่อดังกล่าว และชี้ว่าการขอพระราชทานชื่อนั้นเกิดขึ้นพร้อมกับกระบวนการยกฐานะวิทยาลัยวิชาการศึกษา ในบทความนี้ จะเสนอว่าเงื่อนไขที่นำไปสู่การมีชื่อพระราชทานนั้นเนื่องมาจาก (1) การเมืองทางการศึกษาของการยกฐานะวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัย, (2) การเมืองวัฒนธรรมของนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยตั้งแต่ต้นทศวรรษ 2500 ถึงเหตุการณ์เรียกร้องประชาธิปไตย 14 ตุลา 2516, และ (3) พระราชกรณียกิจที่ใกล้ชิดกับนิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในช่วงทศวรรษ 2500 ถึงกลางทศวรรษ 2510 นั่นคือการเสด็จฯ เยี่ยมเป็นการส่วนพระองค์ และทรงดนตรีที่จุฬาลงกรณ์, ธรรมศาสตร์, เกษตรศาสตร์, ประสานมิตร, และมหิดล ตามลำดับ นอกจากนี้ บทความยังตั้งใจที่จะเปิดทางไปสู่การเขียนชีวประวัติแบบประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยด้วย
[“Srinakharinwirot” is the royally bestowed name by King Bhumibol Adulyadej for the university that was upgraded from the College of Education in 1974. The aim of this article is to study the political history of that name and to point out that requesting such a name came together through the process of upgrading the college. In this article, I propose that the conditions which lead the college receiving the royally bestowed name were due to: first, educational politics involved in upgrading the college to university level; second, cultural politics of university students from the late 1950s up until democracy uprising of Oct 14th, 1973; and third, royal activities which closely associated with undergraduate students, such that royals privately visited and played music at Chulalongkorn, Thammasat, Kasetsart, Prasarn Mitr and Mahidol, respectively, during the 1960s to early 1970s. Furthermore, this article also intends to pave the way to writing a historical biography of Srinakharinwirot University.]

Research paper thumbnail of กว่าจะเป็น “ผัวเดียวเมียเดียว”: สังเขปประวัติความเป็นมาของกฎหมายครอบครัวสมัยใหม่ในสยาม พ.ศ. 2410–2478

Research paper thumbnail of “ผัวเดียวเมียเดียวแห่งชาติ” : ครอบครัวกับโครงการรณรงค์ทางวัฒนธรรมสมัยสร้างชาติของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม

Research paper thumbnail of การเมืองเรื่อง “ครอบครัว” ในประเทศไทยจากสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ถึงยุคพัฒนา (พ.ศ. 2456–2519)

หน่วยความสัมพันธ์ที่เรียกว่า “ครอบครัว” ถูกนิยามขึ้นอย่างเป็นทางการและกลายเป็นองค์ประกอบพื้นฐานขอ... more หน่วยความสัมพันธ์ที่เรียกว่า “ครอบครัว” ถูกนิยามขึ้นอย่างเป็นทางการและกลายเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของรัฐไทยนับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบัญญัติกฎหมายนามสกุลขึ้นใน พ.ศ. 2456 วิทยานิพนธ์นี้เลือกศึกษาประวัติศาสตร์การเมืองเรื่องครอบครัว ซึ่งเป็นประเด็นที่งานศึกษาก่อนหน้านี้ให้ความสนใจไม่มากนัก โดยมุ่งเน้นไปที่กระบวนการก่อรูปของรัฐในทางเพศสภาพนับตั้งแต่การนิยามครอบครัวขึ้นในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์เรื่อยมาจนถึงการแก้ไขกฎหมายครอบครัวในยุคพัฒนา ประเด็นสาคัญที่วิทยานิพนธ์มุ่งพิจารณา ได้แก่ ครอบครัวสัมพันธ์กับการเมืองไทยอย่างไร รัฐพยายามกำหนดปฏิสัมพันธ์ในครอบครัวอย่างไร และกฎหมายครอบครัวถูกต่อรองอย่างไร โดยสำรวจจากโครงการต่างๆ ของรัฐ เช่น การอุปมากษัตริย์ให้เป็นพ่อ การนิยามครอบครัวให้เป็นหน่วยย่อยของชาติ การตราและแก้ไขกฎหมายครอบครัว การสร้างชาติในทางวัฒนธรรม การสงเคราะห์ครอบครัว การร่างรัฐธรรมนูญ กิจการต่างประเทศ และการพัฒนาครอบครัว วิทยานิพนธ์นี้เสนอว่าครอบครัวคือศูนย์กลางหนึ่งของการเมืองไทยสมัยใหม่ สำหรับสมบูรณาญาสิทธิราชย์ การเมืองเรื่องครอบครัวยึดโยงอยู่กับการอุปมากษัตริย์ให้เป็นพ่อผู้ปกครองชาติ ขณะที่การเมืองเรื่องครอบครัวหลังการปฏิวัติ พ.ศ. 2475 ยืนพื้นอยู่ที่การรณรงค์สร้างชาติโดยเฉพาะในทางวัฒนธรรมด้วยการมอบบทบาทให้ผู้ชายเป็นหัวหน้าครอบครัวและให้ผู้หญิงเป็นเมียและแม่ ต่อมาในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง การเมืองเรื่องครอบครัวยังเคลื่อนออกไปสัมพันธ์กับการแสวงหาสถานะของไทยในเวทีนานาชาติด้วย อย่างไรก็ดี รัฐไม่ได้ดำรงอยู่อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดและถูกท้าทายจากสังคมในยุคพัฒนาที่กระแสสิทธิสตรีกาลังขยายตัวอย่างมาก นำไปสู่การแก้ไขเคลื่อนไหวเรียกร้องให้แก้ไขกฎหมายครอบครัวเพื่อลดอำนาจในครอบครัวของผู้ชายลงให้สอดคล้องกับหลักสากลของความเสมอภาคทางเพศ ซึ่งประสบผลสำเร็จใน พ.ศ. 2519
[The relationship unit known as “the family” was officially defined and became a basic building block of the Thai state when King Vajiravudh Rama VI promulgated the surname act in 1913. This dissertation has chosen to investigate the politics of “the family,” which had not received much interest from previous studies. This study focuses on the formation of the state in gender aspects, starting from the first official definition of “the family” during the absolutist era up to the amendment of the family law during the development era. This dissertation investigates important issues including how the family related to Thai politics, how the state attempted to regulate familial interactions, and how the family law was negotiated. This investigation is conducted through a thorough survey of various state projects, such as, the reference of the monarch as father, the definition of the family as a subsection of the nation, the promulgation and amendments of the family law, state building through the culture of aiding the family, the drafting of constitutions, foreign affairs, and family development projects. This dissertation proposes that the family was one of the centers of modern Thai politics. For the absolutist state, the family politics was tied to the reference of the monarch as father of the nation, while the post-1932 revolution family politics was related to the nation building campaign, especially in the cultural sphere, by assigning men as leaders of the families and women as wives and mothers. Later, in the post-Second World War, the family politics expanded to relate of Thailand’s quest for status in the international arena. However, the state did not exist in totality and was constantly challenged by the developing society where women’s rights movements were gathering momentum. This led to increasing demands for the amendment of the family law to decrease men’s authority in the family according to the universal value of gender equality. The amendments were successful in 1976.]

Research paper thumbnail of “ผัวเดียวเมียเดียว” ในสังคมไทยสมัยใหม่จากทศวรรษ 2410 ถึงทศวรรษ 2480

ตั้งแต่ทศวรรษ 2410 ประเด็น “ผัวเดียวเมียเดียว” เริ่มสำคัญขึ้นในบริบทที่สยามเร่งสร้างภาวะสมัยใหม่ข... more ตั้งแต่ทศวรรษ 2410 ประเด็น “ผัวเดียวเมียเดียว” เริ่มสำคัญขึ้นในบริบทที่สยามเร่งสร้างภาวะสมัยใหม่ขึ้นมา เพื่อรับมือและตอบโต้การท้าทายจากจักรวรรดินิยมตะวันตก ในที่สุด นำไปสู่การประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ครอบครัว ซึ่งรับรองหลักการ “ผัวเดียวเมียเดียว” ใน พ.ศ. 2478 ตามมาด้วยการสร้างวัฒนธรรม “ผัวเดียวเมียเดียว” ในทศวรรษ 2480 วิทยานิพนธ์นี้ศึกษาการกำเนิดขึ้นมาของ “ผัวเดียวเมียเดียว” ผ่านวิวาทะในกระบวนการร่างกฎหมายครอบครัวสมัยใหม่และในสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ซึ่งถกเถียงหาทางพลิกแพลงมโนทัศน์ “ผัวเดียวเมียเดียว” ในฐานะตัวแทนภาวะสมัยใหม่แบบตะวันตกเข้าสู่สยามโดยที่ไม่ให้ขัดกับขนบครอบครัวเดิมของสยามที่เป็น “ผัวเดียวหลายเมีย”
วิทยานิพนธ์นี้อธิบายว่ามี 3 ปัจจัยที่เป็นเงื่อนไขกำหนดความเป็นไปได้ของ “ผัวเดียวเมียเดียว” ในสังคมไทย ปัจจัยแรก กรอบภูมิปัญญาในการสร้างภาวะสมัยใหม่ภายใต้การปะทะกับความเป็นตะวันตก ปัจจัยถัดมา การเผชิญหน้ากับจักรวรรดินิยมตะวันตกที่บังคับให้สยามต้องมีกฎหมายครอบครัวสมัยใหม่ตามบรรทัดฐานแบบตะวันตก ปัจจัยสุดท้าย การกำเนิดขึ้นมาของชนชั้นกลางที่นิยม “ผัวเดียวเมียเดียว” และมีแนวโน้มต่อต้านชนชั้นนำ ในที่สุด แม้หลักการ “ผัวเดียวเมียเดียว” จะถูกผนวกลงเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายครอบครัวสมัยใหม่ แต่ไม่ได้แปลว่าวิถีแบบ “ผัวเดียวหลายเมีย” จะถูกปฏิเสธโดยสิ้นเชิง แสดงนัยสำคัญว่าขนบครอบครัวแบบเดิมได้ถูกแปลงให้เข้ากับภาวะสมัยใหม่แล้ว
[From the 1870s-1930s, the concept of monogamy started to gain importance in the context of Siam’s rapid modernization in response to Western imperialist threats. Ultimately, this led to the promulgation, in 1935, of the Civil and Commercial Code, book V (family), which endorses monogamy, resulting in the establishment of monogamous culture in the 1940s. This thesis investigates the origins of the concept of monogamy through debates in the drafting process of the modern family law and in various media channels. These debates sought to transform monogamy into a symbol of Western modernity that could be adopted in Siam in a way that would not contradict the traditional Siamese family culture, which was largely polygamous.
This thesis proposes that there are three major factors that made monogamy possible in Thai society. Firstly, it was due to the intellectual framework that was guiding Siam’s modernization in the midst of Western influences. Secondly, the encounter with Western imperialist threats forced Siam to establish a modern family legal code according to Western standards. Finally, monogamy was supported by the emergence of a middle class population that tended to oppose the largely polygamous elite. Ultimately, although monogamy came to be an integral part of the modern family law, the polygamous lifestyle has not been completely rejected. In other words, the traditional family had been transformed to better comply with the modern way of life.]

Research paper thumbnail of สังคมและวัฒนธรรมไทย พ.ศ. 2398–2500

เอกสารการสอนชุดวิชาประวัติศาสตร์ไทย 10201 หน่วยที่ 8–15 (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 4), 2024

Research paper thumbnail of กรมหลวงโยธาเทพ: พระราชธิดาสมเด็จพระนารายณ์กับเล่ห์เพทุบายในราชสำนักอยุธยา

วารสารประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2017

กรมหลวงโยธาเทพทรงเป็นหนึ่งในราชนารีจำนวนน้อยที่มีความสำคัญอยู่ในหน้าประวัติศาสตร์อยุธยา พระนางดำร... more กรมหลวงโยธาเทพทรงเป็นหนึ่งในราชนารีจำนวนน้อยที่มีความสำคัญอยู่ในหน้าประวัติศาสตร์อยุธยา พระนางดำรงพระชนม์อยู่ในช่วงสี่รัชสมัยในฐานะพระราชธิดา, พระอัครมเหสี, และพระราชชนนี ในพงศาวดารไทยมีการบรรยายถึงพระนางอยู่น้อยนิด อย่างไรก็ดี ชาวฝรั่งเศสและดัตช์ที่พำนักอยู่กลับตรึงใจต่อพระนาง แม้พวกเขาจะไม่เคยพบพระนางตรงๆ พวกเขาก็ได้บันทึกข้อมูลอันไม่ปะติดปะต่อเอาไว้ แม้ข้อมูลจะกระจัดกระจายและบางเบา มันก็แสดงให้เห็นได้ว่าสตรีชั้นสูงของอยุธยาประสบกับข้อจำกัดของสถานะของพวกเธอและยังต้องแสวงหาความเป็นไปได้ที่จะเข้าถึงโภคทรัพย์ ความรู้ และอำนาจอย่างไร
[Princess Yothathep is one of very few royal women who made a mark in the history of Ayutthaya. She lived across four reigns as royal daughter, queen, and royal mother. In the Thai chronicles, the account of her is minimal. French and Dutch residents in Siam, however, were fascinated by her. Although they never saw her in person, they recorded fragments of information. Though the resulting record is fragmentary and fragile, it shows how the elite women of Ayutthaya suff ered the limitations of their position and yet explored the possibilities of their access to wealth, knowledge, and power.]

Research paper thumbnail of จดหมาย “ถึงลูกชายเล็ก” และประวัติศาสตร์พ่อ

This site uses cookies. By continuing to browse the site you are agreeing to our use of cookies.

Research paper thumbnail of แถลงการณ์ของคณะราษฎร

ฐานข้อมูลการเมืองการปกครองสถาบันพระปกเกล้า, 2017

Research paper thumbnail of รัชทายาท

ฐานข้อมูลการเมืองการปกครองสถาบันพระปกเกล้า, 2018

Research paper thumbnail of รัฐมนตรีสภา

ฐานข้อมูลการเมืองการปกครองสถาบันพระปกเกล้า, 2018

Research paper thumbnail of กรมมหาดเล็ก

ฐานข้อมูลการเมืองการปกครองสถาบันพระปกเกล้า, 2018

Research paper thumbnail of สมบูรณาญาสิทธิราชย์

ฐานข้อมูลการเมืองการปกครองสถาบันพระปกเกล้า, 2018